อนามัยเจริญพันธุ์ในทัศนะของชาวไทยมุสลิมชายแดนใต้
อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต
[1]
บทคัดย่อ
บทความนี้อภิปรายถึงพฤติกรรมอนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ ด้วยผลการสำรวจและงานวิจัยจำนวนมากรายงานว่า ชาวไทยมุสลิมมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการอนามัยเจริญพันธุ์และการรับรู้ข้อควรปฏิบัติตนเพื่อดูแลสุขภาพตนเองด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ดังเช่น เรื่องการวางแผนครอบครัว, การคุมกำเนิด, การอนามัยแม่และเด็ก ภาวะการมีบุตรยาก การแท้งและภาวะแทรกซ้อน โรคติดต่อทางระบบสืบพันธุ์และโรคเอดส์ เพศศึกษา มะเร็งของระบบสืบพันธุ์ อนามัยวัยรุ่น และภาวะหลังวัยเจริญพันธุ์และผู้สูงอายุ
คำสำคัญ: อนามัยเจริญพันธุ์, ชาวไทยมุสลิม
Reproductive rights: some rights lost in the Muslim way
Anlaya Smuseneto
This article aimed to synthesize behaviors reflecting the perception on reproductive right among Muslims in the Southernmost Provinces of Thailand. The Muslims had limited to access reproductive health care. Muslims female often complied with the decision of her husband in religious practices, including some religious practices, such as, contraceptive use, birth spacing, or sexual intercourse with female willing, etc., contradict with interpretation of the Muslims in their own sexual health. As a result, some Thai Muslims lack knowledge and access to reproductive rights.
Keywords: Reproductive rights, Thai Muslims
1. นำเรื่อง
“อนามัยเจริญพันธุ์” หรือ “Reproductive Health” กล่าวถึง ภาวะความสมบูรณ์ แข็งแรงของร่างกายและจิตใจ ที่เป็นผลสัมฤทธิ์อันเกิดจากกระบวนการและหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ของทั้งชายและหญิงทุกช่วงอายุของชีวิต ซึ่งทำให้มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” (กองอนามัยเจริญพันธุ์, 2554: 2) ซึ่งขอบเขตของอนามัยเจริญพันธุ์ ประกอบด้วย
- การวางแผนครอบครัว ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคู่สมรสใหม่ และผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์
แต่อาจต้องให้ความสำคัญด้านคุณภาพของการบริการมากขึ้น เพื่อผลในการดึงดูดให้ผู้มารับบริการมารับบริการ และชะลอเวลาสำหรับผู้ที่รับบริการแล้วให้รับบริการนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนาที่มักนำไปสู่การทำแท้ง และลดภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์ การให้บริการวางแผนครอบครัวควรต้องปรับปรุงบริการด้านการให้ข้อมูล และการให้คำปรึกษาแก่ผู้ต้องการรับบริการ รวมทั้งส่งเสริมในการวางแผนครอบครัวและการดูแลครอบครัวมากขึ้น
- การอนามัยแม่และเด็ก เป็นงานที่มีส่วนหนึ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพของแม่และเด็ก เพื่อดูแล
สุขภาพของหญิงทั้งก่อน ระหว่างและหลังตั้งครรภ์ให้มีการตั้งครรภ์ และการคลอดที่ปลอดภัย รวมทั้งการส่งเสริมการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ การให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่เด็ก การโภชนาการของเด็ก การพัฒนาการของเด็กให้เป็นไปตามวัย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อการดูแลสุขภาพแม่และเด็กให้มีอัตราการตายลดน้อยลง ตลอดจนการขยายสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน หรือศูนย์เด็กเล็กในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่างๆ
- ภาวะการมีบุตรยาก เน้นการป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ของสตรี ซึ่งมีผลกระทบภาวะการเจริญพันธุ์
โดยการให้ความรู้ให้เข้าใจ มีการตรวจคัดกรองอาการเริ่มแรก การรักษาเบื้องต้นและส่งต่อเพื่อตรวจหาสาเหตุการมีบุตรยากจากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือตามขั้นตอนจากระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด จนถึงศูนย์การช่วยเหลือผสมเทียม
- การแท้งและภาวะแทรกซ้อน การป้องกันและการดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการแท้ง
และหาแนวทางเพื่อลดอัตราการทำแท้ง ส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การให้คำปรึกษาในวัยรุ่น รวมทั้งการเข้าถึงบริการทั้งความรู้และทางการแพทย์
- โรคติดต่อทางระบบสืบพันธุ์และโรคเอดส์ ในสภาวการณ์แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโรคเอดส์
การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโรคเอดส์ การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวี/เอดส์นับว่าเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีในงานอนามัยการเจริญพันธุ์ เพื่อลดผลแทรกซ้อนจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก และการเป็นหมันในกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ บริการควรเน้นย้ำเป็นพิเศษคือ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่สตรีและวัยรุ่นทั้งหญิงและชาย เพราะเป็นกลุ่มที่ยังขาดความรู้ด้านนี้ และโอกาสที่วัยรุ่นหญิงจะเข้ารับการรักษาภาวะการติดเชื้อก็มีน้อยกว่าชาย เนื่องจากเงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้เน้นการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์อย่างรับผิดชอบ โดยการใช้ถุงยางอนามัยที่มีคุณภาพ เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอช ไอ วี เอดส์
- เพศศึกษา เน้นการให้ความรู้และคำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ (Sexuality) และการส่งเสริม
ความสัมพันธ์ระหว่างเพศ (Gender Relation) โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ด้วยความรับผิดชอบ จนก่อให้เกิดความเท่าเทียมด้านความสัมพันธ์และการให้ความนับถือซึ่งกันและกันระหว่างชายและหญิง และเพื่อให้ชายกับหญิงมีโอกาสเข้าถึงรับรู้ข้อมูลข่าวสารความรู้และบริการที่จำเป็นด้านเพศศึกษา เพศสัมพันธ์และแนะแนวทางที่ช่วยให้เกิดสุขภาพทางเพศที่ดี ทั้งหมดนี้น่าจะมีส่วนช่วยลดช่องว่างในการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างสามีภรรยา หรือคู่ชายหญิงที่มีเพศสัมพันธ์กัน ส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์อย่างเข้าใจและรับผิดชอบ และการป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- มะเร็งของระบบสืบพันธุ์ เฝ้าระวังผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค พร้อมทั้งให้ความรู้แก่ประชาชน
เพื่อการดูแลตนเอง การให้คำปรึกษาและการให้บริการตรวจรักษาเบื้องต้นอย่างมาตรฐาน
- อนามัยวัยรุ่น ส่งเสริมสิทธิและความเสมอภาคด้านสุขภาพของเด็ก เยาวชน สตรีและผู้สูงอายุ
โดยให้มีโอกาสได้รับความรู้และเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ถูกต้องและปลอดภัย
- ภาวะหลังวัยเจริญพันธุ์และผู้สูงอายุ ต้องให้ความรู้และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตน พร้อมทั้ง
บำบัดรักษาในสิ่งจำเป็น เพื่อให้ประชาชนวัยนี้มีสุขภาพกายและจิตที่ดี สามารถใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่สังคมและครอบครัวอย่างเต็มที่
ดังนั้น เห็นได้ว่าขอบเขตอนามัยเจริญพันธุ์จึงครอบคลุมตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิจนถึงหลังวัยเจริญพันธุ์ และสิ่งเหล่านี้มิใช่เป็นเรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเดิม (ยกเว้นอนามัยหลังเจริญพันธุ์ของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในระดับสาธารณสุขมูลฐาน secondary หรือ tertiary health care อย่างไรก็ตาม ในแนวคิดใหม่ของอนามัยเจริญพันธุ์ มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะการบริการตามปกติในปัจจุบันเท่านั้น แต่ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นที่สิทธิของผู้ใช้บริการกลุ่มสตรีที่มีสิทธิได้รับบริการไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด มีสิทธิรับรู้ข่าวสาร ทั้งจากเจ้าหน้าที่ในการให้คำปรึกษา หรือมีสิทธิได้รับบริการและความรู้จากสื่อต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีสิทธิที่จะตัดสินใจในภาวะอนามัยเจริญพันธุ์ของตนเอง ซึ่งกว่าร้อยละ 90 ของชายมุสลิมจะเข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้ตัดสินใจในการกระทำที่เกี่ยวข้องกับภาวะอนามัยเจริญพันธุ์ เช่น การไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัยป้องกันโรค การผลักภาระการคุมกำเนิดให้ภรรยา เป็นต้น ผู้ชายจึงมีส่วนร่วมรับผิดชอบหรือแบ่งปันภาระในเรื่องนี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อนามัยเจริญพันธุ์ในแนวคิดใหม่นี้จึงต้องคำนึงสิทธิสตรี การให้บริการอย่างมีคุณภาพและให้มีความเสมอภาคและความยุติธรรมทางสังคมด้วย (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2546: 56-59)
กฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2544 เพื่อศึกษาและรวบรวมสภาพปัญหาสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2546 คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร มีมติตั้งคณะอนุกรรมาธิการพิจารณายกร่างกฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์ ดำเนินการพัฒนาร่างกฎหมายให้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนทุกเพศทุกวัยจะได้รับการคุ้มครองสิทธิต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอนามัยเจริญพันธุ์ อันนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีของการดำเนินชีวิต
หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2547 คณะอนุกรรมาธิการพิจารณายกร่างกฎหมายนามัยเจริญพันธุ์ ได้มีมติแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอนามัยเจริญพันธุ์เป็นคณะทำงาน เรียกว่า “คณะทำงานยกร่างสาระสำคัญของกฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์” ซึ่งสรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติออกเป็น 9 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 บททั่วไป เกี่ยวกับการนิยามคำต่างๆที่กล่าวถึงในพระราชบัญญัติ สิทธิของประชาชนในฐานะผู้รับบริการสุขภาพ ตลอดจนสิ่งที่รัฐต้องให้การสนับสนุนเพื่อประโยชน์ของผู้รับบริการ และโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอนามัยเจริญพันธุ์
หมวดที่ 2 ข้อมูลข่าวสารด้านอนามัยเจริญพันธุ์และเพศศึกษา กล่าวถึงสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสมตลอดชีวิต หน้าที่ของรัฐในการส่งเสริม สนับสนุนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้งสิทธิทางเพศ เพศภาวะ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพศ
หมวดที่ 3 สุขภาพทางเพศ กล่าวถึงบริการต่างๆด้านสุขภาพทางเพศที่รัฐต้องจัดหาให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้สะดวกและเหมาะสมตามความหลากหลายของกลุ่มผู้รับบริการ รวมไปถึงการพัฒนาทักษะผู้ให้บริการ และมาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงทางเพศ
หมวดที่ 4 การวางแผนครอบครัว กล่าวถึงการจัดบริการด้านการวางแผนครอบครัว การให้ข้อมูลข่าวสาร การให้คำปรึกษา โดยตระหนักถึงความสมัครใจและการมีส่วนร่วมของกลุ่มที่มีวัฒนธรรมความเชื่อที่หลากหลาย
หมวดที่ 5 การตั้งครรภ์และการคลอด กล่าวถึง การที่รัฐต้องมีมาตรการส่งเสริม การจัดบริการ ดูแล ฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจที่เหมาะสมกับเรื่องการตั้งครรภ์และการคลอด รวมถึงการคุ้มครองสิทธิหญิงที่ตั้งท้องเมื่อไม่พร้อมในการเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี การคุ้มครองหญิงที่ไม่อยู่ในภาวะที่จะสามารถเลี้ยงดูบุตรได้ และหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกคุมตัวในเรือนจำ
หมวดที่ 6 ครอบครัวและการเลี้ยงดูบุตร กล่าวงถึง การมี่รัฐต้องมีมาตรการส่งเสริมคุ้มครองเด็ก และสร้างความเข้มแข็งกับครอบครัว การคุ้มครองบุคคลในครอบครัวที่ถูกกระทำรุนแรง การให้ข้อมูล คำปรึกษา เกี่ยวกับเพศศึกษา อนามัยเจริญพันธุ์ การครองเรือนและเลี้ยงดูบุตรที่ส่งเสริมเรื่องความเสมอภาคทางเพศในด้านต่างๆ
หมวดที่ 7 สุขภาพวัยทองและผู้สูงอายุ กล่าวถึงบริการที่รัฐต้องจัดให้มี ทั้งด้านข้อมูลข่าวสาร บุคลากรที่มีคุณภาพ สถานที่ให้บริการ ที่ตระหนักถึงความต้องการและความจำเป็นในการบำบัดรักษาแต่ละคนตามความสมัครใจ อย่างเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ
หมวดที่ 8 เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ กล่าวถึงการจัดให้มีบริการให้คำปรึกษาผู้ที่มีบุตรยากอย่างเหมาะสมในสถานพยาบาลของรัฐ การให้บริการช่วยให้มีบุตรที่ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม และการคุ้มครองผู้ร่วมเข้าโครงการวิจัยหรือทดลองเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์
หมวดที่ 9 กองทุนอนามัยเจริญพันธุ์ กล่าวถึง โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนอนามัยเจริญพันธุ์ในการส่งเสริมการให้บริการอนามัยเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพ รวมถึงในเรื่องการช่วยเหลือชดชเยเบื้องต้นตามคำสั่งศาลแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการรับบริการ
อย่างไรก็ตาม การมีความรู้และเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์ถึงแม้มีความสำคัญต่อบุคคล เพื่อปกป้องและดูแลสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ทางเพศของตนเองแล้ว ยังพบว่าประเด็นที่สำคัญจริงๆ ต่อการที่บุคคลจะมีสุขภาพทางเพศที่ดีได้นั้น โดยเฉพาะเพศหญิงคือ การสร้างบทบาทและความสัมพันธ์เชิงอำนาจชายและหญิง ให้ผู้หญิงมีสิทธิบนร่างกายของตนเอง รวมถึงมีอำนาจการตัดสินใจในการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองด้วยเช่นกัน สำหรับประเด็นบทบาทและความสัมพันธ์เชิงอำนาจชายหญิงมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ดังนั้น เห็นได้ว่าขอบเขตอนามัยเจริญพันธุ์จึงครอบคลุมตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิจนถึงหลังวัยเจริญพันธุ์ และสิ่งเหล่านี้มิใช่เป็นเรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเดิม (ยกเว้นอนามัยหลังเจริญพันธุ์ของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในระดับสาธารณสุขมูลฐาน secondary หรือ tertiary health care อย่างไรก็ตาม ในแนวคิดใหม่ของอนามัยเจริญพันธุ์ มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะการบริการตามปกติในปัจจุบันเท่านั้น แต่ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นที่สิทธิของผู้ใช้บริการกลุ่มสตรีที่มีสิทธิได้รับบริการไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด มีสิทธิรับรู้ข่าวสาร ทั้งจากเจ้าหน้าที่ในการให้คำปรึกษา หรือมีสิทธิได้รับบริการและความรู้จากสื่อต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีสิทธิที่จะตัดสินใจในภาวะอนามัยเจริญพันธุ์ของตนเอง ซึ่งกว่าร้อยละ 90 ของชายมุสลิมจะเข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้ตัดสินใจในการกระทำที่เกี่ยวข้องกับภาวะอนามัยเจริญพันธุ์ เช่น การไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัยป้องกันโรค การผลักภาระการคุมกำเนิดให้ภรรยา เป็นต้น ผู้ชายจึงมีส่วนร่วมรับผิดชอบหรือแบ่งปันภาระในเรื่องนี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อนามัยเจริญพันธุ์ในแนวคิดใหม่นี้จึงต้องคำนึงสิทธิสตรี การให้บริการอย่างมีคุณภาพและให้มีความเสมอภาคและความยุติธรรมทางสังคมด้วย (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2546: 56-59)
2. มุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้
ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ คือกลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามและอาศัยอยู่บริเวณชายแดนใต้ของประเทศไทย ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และอีกด้านหนึ่งติดกับประเทศมาเลเซีย กลุ่มคนเหล่านี้มีความเชื่อและหลักปฏิบัติตามศาสนาที่ค่อนข้างเคร่งครัด มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตมลายูที่โดดเด่น ครอบคลุมถึงจารีตประเพณีที่สั่งสมและสืบสานต่อๆ กันมาจนกลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มตลอดจนเป็นสิ่งที่พบเห็นได้เป็นปรกติในวิถีชีวิตของกลุ่มชนนั้นซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้จากการแต่งกาย อาหารการกิน การละเล่น-งานรื่นเริง การประดิษฐ์และหัตถกรรม ประเพณีเกี่ยวเนื่องด้วยศาสนาและคติความเชื่อ การประกอบอาชีพ การสร้างที่พักอาศัย และภาษาและวรรณกรรม (อาลี เสือสมิง, 2554: 4)
ชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาในการสื่อสาร และมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างจากคนไทยในภาคอื่นๆ อย่างชัดเจนด้วยหลักศาสนาและเชื้อชาติที่เป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้จึงมีแนวโน้มกลืนกลายเข้าสู่สังคมมลายูมากกว่าสังคมไทย และชาวไทยมุสลิมบางกลุ่มให้ความเห็นว่า “ความแตกต่างทางศาสนาและลักษณะทางภูมิศาสตร์กลายมาเป็นกรอบจำกัดให้พวกเขากลายเป็นพลเมืองชั้นสองของประเทศไทย จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในการได้รับการเผยแผ่ความรู้หรือนโยบายต่างๆ และกอรปกับชาวไทยมุสลิมไม่ได้ให้การใส่ใจเพราะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว กว่าจะรับรู้หรือเข้าใจเรื่องดังกล่าวก็ผ่านเวลาล่วงเลยมานาน” และประเด็นนั้นอาจจะกลายเป็นสถานการณ์ปกติที่ปรากฏในสังคมอื่นๆ แล้ว เนื่องจากมีแนวทางป้องกันหรือแก้ไขได้แล้ว ยิ่งไปกว่านั้นปัญหาบางประเด็นที่สำคัญที่ชาวไทยมุสลิมชายแดนใต้กำลังประสบกับความเหลื่อมล้ำของสังคมจึงทำให้ชาวไทยมุสลิมขาดการรับรู้และตระหนักถึงสิทธิบางประการที่ตนสามารถเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ กลายเป็นประเด็นที่ไกลตัวสำหรับชาวไทยมุสลิมที่เคร่งครัดศาสนา อาศัยอยู่แถบชนบท มีรายได้น้อย และสื่อสารด้วยภาษามลายู ซึ่งเป็นสิทธิบางประการเกี่ยวข้องสุขภาพทางเพศพวกเขาที่พวกเขาอาจจะไม่เคยรู้เลยว่าเป็นสิทธิที่พวกเขาพึงได้รับในฐานะเป็นสิทธิมนุษยชน สิทธิที่มนุษย์คนหนึ่งพึงได้รับอย่างเท่าเทียมกับบุคคลอื่นๆ (สุทธิพงศ์ พงศ์ไพบูลย์, 2535: 99 – 101)
3. อนามัยเจริญพันธุ์ในทัศนะของชาวไทยมุสลิมชายแดนใต้
การวางแผนครอบครัวในทัศนะของชาวมุสลิม
การวางแผนครอบครัวเป็นศัพท์ที่วิวัฒนาการจากคำว่า การคุมกำเนิด (Birth control) โดยกล่าวถึงความหมายสำคัญดังนี้ คือ การเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ลดลงของจำนวนประชากรตามความจำเป็น และความต้องการของสามีภรรยา ในขณะที่ทางปฏิบัติ หมายถึง การลดหรือจำกัดจำนวนของอัตราการเกิดของประชากร ซึ่งไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องเป็นการคุมกำเนิดเพียงอย่างเดียว อาจจะใช้วิธีชักชวนให้ชะลอการแต่งงานด้วย
(สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และธวัชชัย อาทรธุระสุข, 2522) ในขณะที่
www.science.cmru.ac.th/
scienceblog/admin/blog/.../60611182901.do...กล่าวถึง การวางแผนครอบครัว (Family Planning) หมายถึง การตั้งเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การเลือกคู่ครอง ความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและอาชีพ การแต่งงาน การวางแผนที่จะมีบุตร การเว้นช่วงระยะห่างของการมีบุตรที่เหมาะสม การเป็นพ่อแม่ที่ดีเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี มีคุณภาพและมีความสุข มีผลเพื่อให้เกิดความสุข ความเหมาะสมทางสังคม เศรษฐกิจ แก่ตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ
การวางแผน
ครอบครัวจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำพาครอบครัวให้มีความสุขและเป็นแหล่งสร้างคนที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติ เปิดโอกาสให้สามี ภรรยาได้พัฒนาตนเองอย่างเท่าเทียมกันโดยการจัดสรรเวลาที่เหมาะสมในการทำงานและการแสวงหาความรู้ได้ทั้งสองฝ่าย องค์ประกอบของการวางแผนครอบครัว มีดังนี้
2.1การเลือกคู่ครอง เป็นการเลือกคนที่จะมาร่วมสร้างครอบครัว ร่วมรับผิดชอบภาระต่าง ๆ และร่วมทุกข์ร่วมสุขตลอดชีวิต
2.2 การเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและอาชีพ ที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญจะต้องตกลงกันตั้งแต่ก่อนแต่งงาน เช่น แยกมาอยู่ด้วยกันตามลำพังหรืออยู่กับครอบครัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุผลและความจำเป็นของทั้งสองฝ่าย สำหรับอาชีพควรมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้แน่นอนและเพียงพอที่จะดูแลครอบครัว
2.3 การแต่งงาน มีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตครอบครัวคนเรา ทั้งด้านจิตใจที่หมายถึงความสุขสมหวังที่ได้อยู่ร่วมกับคนที่เรารักและเหมาะสมซึ่งกันและกัน เป็นประเพณีที่แสดงถึงการประกาศให้สังคมรับรู้ถึงการตกลงใจในการใช้ชีวิตร่วมกันของชายหญิง มีธรรมเนียมปฏิบัติแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นและการจดทะเบียนสมรสเพื่อสิทธิตามกฎหมายของทั้งสองฝ่าย พิธีแต่งงานควรเป็นไปตามฐานะไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
2.4 การปรับตัว ระยะเริ่มต้นของการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันต้องปรับตัวเข้าหากัน ตกลงบทบาทและภาระหน้าที่ในครอบครัวซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่ายและสามารถสลับบทบาทกันได้ในยามจำเป็น มีการวางแผนในการจัดสรรค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน และเก็บออมเอาไว้ในอนาคต
2.5 การวางแผนมีบุตรและการเว้นช่วงการมีบุตร เป็นการวางแผนว่าทั้งคู่พร้อมจะมีบุตรเมื่อไร ต้องการบุตรกี่คน และเว้นระยะห่างกันนานแค่ไหน เลือกวิธีอะไรจึงจะมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เตรียมความพร้อมในเรื่องฐานะการเงิน และวิธีการที่จะทำให้เขาเติบโตมาเป็นคนที่มีคุณภาพ เว้นช่วงการมีบุตร เพื่อให้แม่ได้พื้นฟูสุขภาพของตนเองก่อนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป และให้การเลี้ยงดูลูกคนก่อนอย่างเต็มที่ด้วยความรักและเอาใจใส่ ไม่ควรมีบุตรเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือถี่เกินไป
2.6 การเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ที่ดี เพื่อให้
บุตรเติบโตมาเป็นคนดี มีคุณภาพและมีความสุข สามีและภรรยาจะต้องยินยอมพร้อมใจที่จะมีบุตรด้วยกัน และให้บุตรของตนเกิดมาพร้อมกับความรักของคนทั้งสอง เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ด้านจิตใจ
ทั้งนี้คู่สมรสต้องศึกษาหาความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว การเว้นช่วงการมีบุตร รวมถึงทักษะในการอบรมเลี้ยงดูบุตรของตน รวมถึงหาที่ปรึกษาหรือดูแบบอย่างครอบครัวหรือที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงดูลูกให้เป็นคนดี มีเวลาเพียงพอที่จะให้ความใกล้ชิดและเป็นแบบอย่างที่ดีกับบุตร โดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาคทางเพศ
อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์การเจริญพันธุ์ของสตรีมุสลิมซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีภาวะเจริญพันธุ์อยู่ในระดับสูงมากและสูงกว่าสตรีที่นับถือศาสนาอื่นๆ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2552) ทั้งนี้อาจจะกล่าวได้ว่าด้วยอิทธิพลของศาสนาอิสลามที่ทำให้ภาวะเจริญพันธุ์นั้นให้คุณค่าสูงมากในเรื่องการให้กำเนิดบุตร จากความเชื่ออันนี้สะท้อนให้เห็นจากการมีครอบครัวขนาดใหญ่ของผู้ที่นับถือศาสนาดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าสตรีจะต้องสมรสมีบุตร และยกย่องสามีให้อยู่ในฐานะเหนือกว่า ความแตกต่างดังกล่าวอาจเนื่องมาจากคำสอนของศาสนาอิสลามซึ่งไม่อนุญาตให้มีการจำกัดการเกิด ในขณะที่ในศาสนาพุทธก็ไม่มีคำสอนใดๆที่มีส่วนสนับสนุนให้ทำการสมรสแต่เยาว์วัย ไม่มีคำสอนใดที่ส่งเสริมการมีบุตรหลายคน หรือนิยมการมีครอบครัวขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันศาสนาพุทธก็เป็นศาสนาที่มีความยืดหยุ่นมากทั้งในด้านของความเชื่อและการปรับให้เข้ากับทางวิทยาศาสตร์ฉะนั้นการใช้อุปกรณ์การคุมกำเนิดจึงไม่ได้เป็นข้อห้ามทางศาสนา
การวางแผนครอบครัว ตามหลักศาสนาอิสลาม กล่าวคือ เป็นการสนับสนุนให้คนมีการแต่งงาน และอยู่เป็นครอบครัวเพื่อมีบุตรสืบสกุลขยายเผ่าพันธุ์ให้กว้างขวาง ทั้งนี้ก็เพราะว่า ศาสนาอิสลามมีจุดประสงค์เพื่อให้คนชีวิตตามรูปแบบธรรมชาติที่อัลลอฮฺ ได้สร้างขึ้นไว้กล่าวคือ เน้นให้คนดำเนินชีวิตไปกฎที่ไม่ผิดธรรมชาติ ถ้าผู้ใดไม่ปรารถนาที่จะมีครอบครัว ผู้นั้นย่อมประพฤติแยกไปจากกฎธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้เขาจึงไม่เป็นที่รักของอัลลอฮฺได้ ดังนั้นศาสนาอิสลามจึงสนับสนุนให้คนมีครอบครัวอย่างเต็มที่ เพื่อตอบสนองความใคร่ที่เป็นพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์ ที่องค์อัลลฮฮ.ได้กำหนดไว้อนึ่ง การแต่งงานหรือการมีครอบครัวนี้ อิสลามถือว่าเป็นการสามารถทำให้จิตใจของคนสงบระงับได้ ซึ่งเมื่อจิตใจคนสงบระงับแล้ว ก็จะมีจิตใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามหลักศาสนาต่อไป หรือก็เพื่อการป้องกันการสำส่อนทางเพศ เพราะว่าถ้าคนไม่มีคู่เป็นของตนเองแล้วก็เป็นที่แน่ใจว่า การผิดศีลธรรมหรือการล่วงประเวณีย่อมเกิดขึ้นแน่นอน
สาระสำคัญของการวางแผนครอบครัว เป็นการส่งเสริมให้คู่สมรสที่เพิ่งแต่งงาน ได้มีโอกาสปรับตัว
เพื่ออยู่ร่วมกันก่อนมีลูก การมีครอบครัวมีความเป็นอยู่ดี ลูกมีโอกาสได้รับการศึกษาสูง การที่ คู่สมรสสามารถเว้นระยะการมีลูกหรือจำกัดขนาดของครอบครัวได้ การที่คู่สมรสมีโอกาสสร้างฐานะการเงินให้มั่นคงได้ และการที่สุขภาพของมารดาไม่ทรุดโทรม สามารถดูแลครอบครัวได้เต็มที่
การคุมกำเนิด
- การอนามัยแม่และเด็ก เพื่อดูแบสุขภาพของหญิงทั้งก่อนระหว่างและหลังตั้งครรภ์ให้มีความปลอดภัยพร้อมทั้งมีลูกที่สมบูรณ์แข็งแรงและได้รับการเลี้ยงอย่างมีคุณภาพโดยที่ชาวไทยมุสลิมจะมีลักษณะดังนี้ .---…มารดาที่ศึกษาส่วนใหญ่ แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย อายุเฉลี่ยเมื่อแต่งงาน เท่ากับ 16.9 ปี และมีบุตรคนแรกหลังแต่งงาน เลยไม่ได้คุมกำเนิด ขณะเดียวกันมีระดับการศึกษาค่อนข้างต่ำ คือ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62.45) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และมีบางส่วนไม่ได้เรียนหนังสือในโรงเรียน ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่ำ โดยร้อยละ 56.2 มีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ทำให้มีความรู้ในเรื่องอนามัยแม่และเด็กต่ำ และโอกาสจะรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพน้อย ทำให้มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการอนามัยแม่และเด็ก ที่ไม่เหมาะสม ในระยะตั้งครรภ์ มารดาชาวไทยมุสลิมที่ศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาน้อย มีรายได้ต่ำ ส่วนใหญ่ยังคงฝากครรภ์ กับผดุงครรภ์โบราณ หรือโต๊ะบีแด เพื่อทำพิธีกรรมต่างๆ โดยในครรภ์แรกจะทำพิธีแนแง ส่วนในครรภ์หลังที่จะทำพิธีการฝากครรภ์ โดยการบอกกล่าวว่าคาถา และตรวจท้อง ขณะเดียวกัน มารดาทุกคนจะฝากครรภ์ กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สถานีอนามัย โดยเหตุผลที่ฝากครรภ์ เพราะว่าทางราชการได้กำหนด ให้การฝากครรภ์เป็นเงื่อนไข ในการออกใบรับรองการเกิด และสูติบัตรให้ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ตระหนัก หรือเห็นความสำคัญของการฝากครรภ์ ว่าเป็นการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน และส่งเสริมสุขภาพ ดังนั้น ปัญหาการคลอดกับโต๊ะบีแด ซึ่งประชาชนเองยังไม่คิดว่าเป็นปัญหา เพราะจากการสัมภาษณ์มารดา อสม. ตลอดจนคณะกรรมการ อบต.ในหมู่บ้าน ก็ยังไม่คิดว่า เป็นปัญหาสำคัญ ควรจะได้มีการหยิบยกขึ้นมาชี้แจงให้เห็นประเด็นปัญหา โดยแสดงข้อเท็จจริง เรื่อง ปัญหาการตาย และพิการจากการคลอด ให้กับชุมชนได้ทราบ เพื่อนจะเปลี่ยนแนวคิดให้เกิดการพัฒนา พฤติกรรมการคลอดที่เหมาะสมต่อไปในระยะหลังคลอด มารดาไทยมุสลิมที่ศึกษา ยังคงเชื่อเรื่อง การยู่ไฟหลังคลอด โดยร้อยละ 75 อยู่ไฟหลังคลอดในการคลอดครั้งแรก ส่วนในการคลอดครั้งสุดท้ายที่ผ่านมา อยู่ไฟร้อยละ 37.5 การอยู่ไฟนั้น มารดาหลังคลอดจะถูกจัดให้นอนบนแคร่ ซึ่งมักทำจากไม้ไผ่ สุมไฟไว้ข้างๆ เชื่อว่าจะช่วยให้มารดาไม่ปวดหลัง และช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ใน 3 วันแรกของการอยู่ไฟ โต๊ะบีแดจะมาอาบน้ำให้ โดยใช้น้ำต้มสมุนไพร ซึ่งประกอบด้วย ตะไคร้ ข่า เป็นต้น ผ่านพิธีบริกรรมคาถา นำมาอาบ เพื่อขจัดสิ่งชั่วร้าย นอกจากนั้น ใน 3 วันแรกนี้ โต๊ะบีแดจะช่วยนวดคลึงหน้าท้องให้ด้วย ระยะเวลาที่อยู่ไฟเฉลี่ยแล้ว จะอยู่ประมาฯ 25 วัน และส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81.2) ยังคงงดอาหารแสลง ในช่วงหลังคลอด 30 ถึง 40 วัน ได้แก่ อาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น มะละกอ ฟักทอง หน่อไม้ เป็นต้น อาหารประเภทต้ม แกง ผัด จะเลือกรับประทานแต่อาหารแห้งๆ ประเภทปิ้ง หรือย่าง โดยเชื่อว่า ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ซึ่งเป็นผลเสียต่อภาวะโภชนาการของมารดา และยังส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงดูด้วยนมมารดา ทำให้มีผลต่อภาวะโภชนาการของทารก ในระยะยาวด้วย มารดาไทยมุสลิมที่ศึกษา นิยมเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา (ร้อยละ 93.8) ซึ่งมีประโยชน์ต่อทารก ทั้งในแง่ความผูกพัน และโภชนาการต่อทารก แต่ในขณะเดียวกัน ก็ให้อาหารเสริมกับทารก อย่างไม่เหมาะสม ทั้งในด้านเวลาที่เริ่มให้อาหารเสริม โดยร้อยละ 62.5 เริ่มให้อาหารเสริมก่อนอายุ 4 เดือน และการเลือกชนิดของอาหารเสริม ซึ่งพบว่า นิยมซื้ออาหารเสริมสำเร็จรูป ทั้งๆ ที่รายได้น้อย แทนที่จะเตรียมเอง ซึ่งจะช่วยประหยัด และสามารถให้ความหลากหลายของอาหารเสริมต่อทารกได้ โดยคุณค่าทางโภชนาการเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันก็ยังมีมารดาบางคน ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ใช้นมข้นหวาน ซึ่งมีสารอาหารไม่ครบถ้วนแทนนมแม่ โดยให้เหตุผลว่า น้ำนมแม่ไม่ไหล และมีฐานะยากจน ไม่สามารถซื้อนมผงได้ ปัญหาอุปสรรคในการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ จำนวนบุคลากรสาธารณสุขประจำสถานีอนามัย ที่มีจำนวนน้อย ในขณะที่มีงานรับผิดชอบมาก ทำให้ไม่สามารถให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ในเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็ก ของมารดาไทยมุสลิมที่ศึกษา ยังคงเป็นพฤติกรรมที่ไม่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ของมารดาและทารก ซ้ำยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพมารดา และทารก และเป็นผลเสียหายต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะระดับการศึกษาที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้ขาดความรู้ และความมตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพตนเอง ในขณะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด8,11 ตลอดจนส่งเสริมสุขภาพทารก ประกอบกับการมีความเชื่อ ในเรื่องการดูแลตนเอง โดยเฉพาะความเชื่อ เกี่ยวกับโภชนาการในระยะหลังคลอด ตลอดจนสภาพทางสังคม และวัฒนธรรม ที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อ และการคล้อยตาม ทั้งหมดนี้ เป็นเหตุให้พฤติกรรมในด้านอนามัย แม่และเด็กของมารดาไทยมุสลิมเหล่านี้ เป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อชีวิต และสุขภาพของมารดาและทารก และทำให้สถานการณ์ด้านอนามัยแม่และเด็ก ในพื้นที่ไม่สามารถพัฒนาได้ ทัดเทียมพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ
- โรคเอดส์ ให้ความรู้ ให้คำปรึกษากับผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคตลอดจนควบคุม ป้องกันและให้การรักษาแก่ผู้เป็นโรค จากการสำรวจผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี และผู้ป่วยในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ตั้งแต่ปี 2531 ถึง 30 มิถุนายน 2554 พบว่า จังหวัดยะลามีผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วย 1,633 ราย ปัตตานี 3,026 ราย นราธิวาสประมาณ 3,000 กว่าราย สาเหตุหลักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ รองลงมา คือ การใช้ยาเสพติดชนิดฉีด รวมประมาณ 6,500 ราย ในความเข้าใจของสังคมในพื้นที่คิดว่า ผู้ติดเชื้อเอดส์ไม่ใช่มุสลิมและโรคเอดส์ห่างไกลจากสังคมมุสลิมมาก แต่ในความเป็นจริงมีชาวมุสลิมติดเชื้อเอดส์ด้วย เฉพาะในจังหวัดยะลา มีชาวมุสลิมที่มารับยาต้านไวรัสเอชไอวีจำนวน 336 ราย จากจำนวนผู้ได้รับยาต้านทั้งหมด 900 ราย ในจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยของจังหวัดยะลา 1,633 ราย แยกเป็นการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ 71% ติดจากการเสพยาเสพติดชนิดฉีด 17% ผู้ติดเชื้อที่เป็นผู้หญิงส่วนใหญ่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อหลังจากแต่งงาน และตรวจพบเมื่อไปฝากครรภ์ สาเหตุที่โรคเอดส์แพร่ระบาดในสังคมมุสลิม อาจเป็นเพราะทัศนคติเชิงลบของคนในพื้นที่ว่า ผู้ติดเชื้อเอดส์ส่วนใหญ่เป็นคนส่ำส่อน จึงไม่ค่อยตระหนักในการป้องกัน และทำให้ไม่มีการรณรงค์ให้ความรู้ต่อปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเอดส์ ทำให้สถิติการติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือ ผู้หญิงส่วนใหญ่ติดเชื้อหลังจากแต่งงาน ผู้ติดเชื้อเอดส์รายหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า ตนติดเชื้อจากสามี ซึ่งเคยเป็นผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดมาก่อน สาเหตุที่โรคเอดส์ระบาดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะแหล่งอบายมุขต่างๆ ที่มีมากในพื้นที่ ซึ่งมีนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมเข้าไปใช้บริการด้วย จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวมุสลิมติดเชื้อเอดส์ด้วย
- มะเร็งระบบสืบพันธุ์ เฝ้าระวังผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรค ให้ความรู้และให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็วและถูกต้อง มะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรีไทย จัดอยู่ในกลุ่มของมะเร็งที่เกิดกับระบบสืบพันธุ์ ที่พบมากคือ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก นับเป็นภัยร้ายที่คุกคามชีวิตของผู้หญิงอยู่เสมอ
- โรคติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคติดเชื้อซึ่งสามารถติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งโดยผ่านทางเพศสัมพันธ์ มีผลเสียทั้งทางกาย สังคม และเศรษฐกิจ พบมากขึ้นในวัยรุ่นซึ่งมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน โดยที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การติดต่อ อาการของโรค และการรักษา เพื่อให้สามารถป้องกันโรคติดต่อได้
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจทำให้เกิดการอักเสบในอุ้งเชิงกราน และมีผลทำให้เกิดการอุดตันของหลอดมดลูกหรือเกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน ทำให้มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือไม่สามารถมีบุตรได้โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจทำให้เกิดผลเสียต่อการตั้งครรภ์และทารกได้ เช่น ซิฟิลิสอาจทำให้เกิดการแท้ง คลอดก่อนกำหนด ทารกเสียชีวิตในครรภ์ มีความพิการแต่กำเนิด หรือทำให้มีการติดเชื้อในทารกแรกเกิดได้
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง เช่นการติดเชื้อ human papillomavirus infection (HPV) ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่งผลต่อสุขภาพจิต
- การแท้งและการแหรกซ้อน ป้องกันการแท้งให้มีอัตราลดลง และรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการแท้งได้อย่างเหมาะสม มีการแท้งที่ปลอดภัย
- เพศศึกษา สนับสนุนการให้คำปรึกษา และเผยแพร่ความรู้เรื่องเพศแก่ประชากรทุกกลุ่มอายุอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
- อนามัย วัยรุ่นให้ความรู้และให้คำปรึกษาในเรื่องเพศ การมีเพศสัมพันธ์อย่างรับผิดชอบและปลอดภัย เพื่อป้องกันการตังครรภ์อันไม่พึงปรารถนา และป้องกันการติดโรคทางเพศสัมพันธุ์และเอดส์
- ภาวะหลังวัยเจริญพันธุ์และผู้สูงอายุ ให้ความรู้และคำแนะนำในการปฏิบัติตน บำบัด รักษาให้ประชากรกลุ่มนี้มีสุขภาพดี ใช้ชีวิตเป็นประโยชน์แก่สังคมและครอบครัว
งานอนามัยการเจริญพันธ์มีขอบเขตงานที่กว้างขวาง มีงานหลายๆ อย่าง ที่ต้องผสมผสานเข้าด้วยกันจึงต้องอาศัยความร่วมมือ และการประสานงานระหว่างกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานต่างๆทั้งภายในกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรภาคเอกชน
6. เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
กรมสุขภาพจิต. 2554. “ข่าวสารกรมสุขภาพจิต”.
รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต 2554. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 145-160.
กองอนามัยการเจริญพันธุ์. 2554.
นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2553-2557). นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กองอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข.
กุลวดี เถนว่อง. 2551.
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และแนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน : กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
กุศล สุนทรธาดา. “ภาวะเจริญพันธุ์ของไทยมุสลิมในภาคใต้”.
จุลสารสังคมศาสตร์. 3 (พฤษภาคม- ตุลาคม 2524) :45-48
จรัล มะลุลีม. 2554.
อิสลามกับเรื่องเพศ. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2555 จาก
http://www.piwdee.net/kab6/sanha04.htm
จรรยา เศรษฐบุตร และบุปผา ศิริรัศมี. 2544.
รายงานการวิจัยโครงการพัฒนางานวิจัยด้านเพศภาวะ มิติทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ ชุดที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 262.
จิตรา ไชยชนะ วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์ สว่าง ประทีปเกาะ และนิรชร ชูติพัฒนะ. 2544. “บทบาทหญิงชายเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ของแรงงานย้ายถิ่นอีสานในโรงงานอุตสาหกรรมถุงยางมือยาง จังหวัดสงขลา” ใน จรรยา เศรษฐบุตร และบุปผา ศิริรัศมี. (บรรณาธิการ).
รายงานการวิจัยโครงการพัฒนางานวิจัยด้านเพศภาวะ มิติทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ ชุดที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 262.
ฉวีวรรณ วรรณประเสริฐ และคณะ. 2526. “ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมชาวไทยมุสลิมกับภาวะเจริญพันธุ์และการวางแผนครอบครัว”.
เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องภาวะเจริญพันธุ์ การวางแผนครอบครัว และการพัฒนาประชากรภาคใต้. 16-18 มีนาคม 2526 ณ โรงแรมโนรา อำเภอหาดใหญ่
ชาญชัย เรืองขจร สนิท อุโพธิ์ และทิพย์วัลย์ เรืองขจร. 2544. “บทบาทหญิงชายด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และการปฏิสัมพันธ์ต่อการบริการสาธารณสุขของหญิงชายไทยมุสลิมจังหวัดสงขลา”.
โครงการพัฒนางานวิจัยด้านเพศภาวะ มิติทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฐยา บุญภักดี. 2547. “สรุปสถานการณ์ด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของประเทศไทย”
เอกสารนำเสนอในการประชุมคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์. 29 มกราคม 2547 ณ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ปราโมทย์ ประสาทกุล และอภิชาติ จำรัสฤทธิ์รงค์. 2532.
สถานภาพและบทบาทสตรีของไทยพุทธและไทยมุสลิม :
การศึกษาในชุมชนภาคใต้แห่งหนึ่ง. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและ สังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภัสสร ลิมานนท์. 2547. “ผู้หญิง…กับทางเลือกในการเจริญพันธุ์ และเพศสัมพันธ์?”
บทความประกอบการประชุมทางวิชาการ ชีวจริยศาสตร์เบื้องต้น: ทางเลือกของสังคมไทย จัดโดย สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการ ASEAN-EU LEMLIFE ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2555 จาก
www.stc.arts.chula.ac.th/ Women_and
_Reproductive _Choices.ppt
มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง. 2550.
สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ หัวใจสำคัญของสุขภาพผู้หญิง. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง.
รศรินทร์ เกรย์ และพรทิพย์ ศรีวัชรินทร์. 2541.
ศาสนาและภาวะเจริญพันธุ์ในภาคใต้ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุทธิพงศ์ พงศ์ไพบูรณ์. 2535. “กระบวนการเรียนรู้เชิงสังคมในครอบครัวด้านบทบาทหญิงชาย: กรณีภาคใต้”
รายงานการประชุมวิชาการเรื่องกระบวนการเรียนรู้เชิงสังคมในครอบครัวด้านบทบาทหญิง-ชาย. 28
สิงหาคม 2535 ณ โรงแรมแมเจสติค พาเลซ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ:
คณะอนุกรรมการการศึกษา อาชีพ และวัฒนธรรม (ใน กสส.) สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุชาดา ทวีสิทธิ์. 2553.
ประชากรและการพัฒนา. ปีที่ 30 ฉบับที่ 5. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และธวัชชัย อาทรธุระสุข. 2522. “การศึกษาความเป็นไปได้ของการลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เลือกร้อยละ 1.5 ต่อปี ในปีสุดท้ายของแผนพัฒนา ฉบับที่ 5 : การวิเคราะห์ทางประชากรศาสตร์ “การศึกษาความเป็นไปได้ของการลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เลือกร้อยละ 1.5 ต่อปี ในปีสุดท้ายของแผนพัฒนา ฉบับที่ 5 : การวิเคราะห์ทางประชากรศาสตร์
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2546.
อนามัยเจริญพันธุ์ภาคใต้. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2552.
การสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ.2552. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2554 จาก ttp://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/fertility/fertilityRep52.pdf
ศรัณยา บุนนาค และเพ็ญพักตร์ ทองแท้. 2544. “ความเป็นหญิงชาย และพฤติกรรมทางเพศที่เกี่ยวข้องกับอนามัยเจริญพันธุ์ในกลุ่มมุสลิมภาคใต้ของประเทศไทย”
โครงการพัฒนางานวิจัยด้านเพศภาวะ มิติทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.
อนามัยโพลล์. 2552.
โพลล์สำรวจอนามัยวัยรุ่น. นนทบุรี: สำนักอนามัยเจริญพันธุ์. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
อมรา สุนทรธาดา. 2542. “บททบทวนความสัมพันธ์เชิงอำนาจและพฤติกรรมอนามัยการเจริญพันธุ์”
เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาการวิจัยด้านเพศภาวะ มิติทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์. ณ โรงแรมพีพี. ขอนแก่น. 8-19 พฤศจิกายน 2542.
อังคณา นีละไพจิตร. (2549). “วันนี้ของผู้หญิงมลายูมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้: ชีวิตที่หลงเหลือกับรอยยิ้มหลังหยาดเลือด”
เอกสารเผยแพร่การเสวนาเรื่อง “ชีวิตผู้หญิงมลายูมุสลิม : มายาคติ และ ความเป็นจริง”. 8 กุมภาพันธ์ 2549 ณ วิทยาลัยอิสลาม มอ.ปัตตานี จัดโดย เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพ และคณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2555 จาก www.southwatch.org/article_detail.php?id=15 -
อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต และเพ็ญพักตร์ ทองแท้. 2555.
สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของประชากรไทยพุทธและไทยมุสลิม. รายงานการวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี.
อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต และเพ็ญพักตร์ ทองแท้. (มปป.).
อนามัยเจริญพันธุ์ของประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนใต้. รายงานการวิจัย (ฉบับร่าง).
อาลี เสือสมิง. 2554. “ความเป็นมลายูของ ออแฤ นนายู บาเกาะ”
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของมลายูบางกอก. กรุงเทพฯ.
เอแบคโพลล์. 2547.
ความเสมอภาคและคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยเอแบคโพลล์.
ภาษาอังกฤษ
Gray Alan et al. 1999.
Gender, Sexuality and Reproductive Health in Thailand. Institute
for Population and Social research. Mahidol University.
UNFPA. 2004.
Rights into Action: UNFPA implementations Human Rights-Based Approach; Reproductive
health and rights (p.16). ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2555 จาก
http://www.unfpa.org/upload /lib_pub_file
/529_filename_rights_into_action.pdf
International Conference on Population and Development (ICPD). 2004. Breaking Through: A Guide to Sexual
and Reproductive Health and Rights. Edited by Ylva Bergman. Stockholm: Norra Skane Offset,
Hassleholm. (February).
[1] อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี