สถิติ
เปิดเมื่อ23/11/2013
อัพเดท18/12/2013
ผู้เข้าชม34096
แสดงหน้า42611
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




อนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยมุสลิมปัตตานี: ความแตกต่างที่อาจกลายเป็นชายขอบ?

อ่าน 2038 | ตอบ 16
อนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยมุสลิมปัตตานี: ความแตกต่างที่อาจกลายเป็นชายขอบ?
Reproductive Health of Thai Muslims Pattani: The differences may become marginalized?
อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต[1] กุศล สุนทรธาดา[2] และ กมลชนก ขำสุวรรณ[3]
Anlaya Smuseneeto, Kusol Soonthorndhada, Kamolchanok Khumsuwun
บทคัดย่อ                      
                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและประเด็นสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยมุสลิม เปรียบเทียบกับชาวไทยพุทธ ในจังหวัดปัตตานี ที่อาจนำไปสู่ความเป็นชายขอบ โดยใช้ข้อมูลจากโครงการวิจัยสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยพุทธและไทยมุสลิม จังหวัดปัตตานี 2554 ซึ่งเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มใน 4 อำเภอ ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15-49 ปี ทั้งชายและหญิงที่ยังอยู่กับคู่สมรส กลุ่มละ 110 คน รวมทั้งสิ้น 440 คน  ผลการศึกษา พบว่า อายุเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก บุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก และการใช้วิธีคุมกำเนิด รวมทั้งการเลือกคู่ครองของกลุ่มตัวอย่างชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยสัดส่วนชาวไทยมุสลิมทั้งชายและหญิงมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ที่อายุต่ำกว่า 20 ปีมากกว่าชาวไทยพุทธ โดยเฉพาะกับคู่สมรสและกว่าครึ่งหนึ่งไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิด ส่วนใหญ่พ่อ-แม่รีบหาคู่ครองให้ ทำให้อายุแรกสมรสของชาวไทยมุสลิมน้อยไปด้วย และกว่าครึ่งมีระยะเวลาเรียนรู้คู่สมรสก่อนมีครอบครัวน้อยกว่า 1 ปี ทำให้เกิดความยากลำบากในการปรับตัวเข้าหากัน มีปัญหาความรุนแรงทางเพศจากคู่สมรส และความรุนแรงในครอบครัวมากกว่าคนไทยพุทธ ความแตกต่างดังกล่าวอาจทำให้คนไทยมุสลิมไปสู่การเป็นคนชายขอบ จากการถูกดึงเข้าสู่กระแสสิทธิมนุษยชนในด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะสตรีมุสลิม ถ้ารัฐไม่ปรับปรุงบริการให้คนไทยมุสลิมสามารถเข้าถึง และได้รับบริการที่สะดวกใจ รวมทั้งให้โอกาสสตรีมุสลิมเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาสตรี เพื่อเสริมสร้างศักยภาพสตรีให้เท่าเทียมกับชาย
คำสำคัญ: สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์, ผู้หญิงมุสลิม, จังหวัดปัตตานี, การเป็นชายขอบ
 
Abstract
 
              The purposes of this study is to identify the reproductive behaviors among the Thai-Muslim in comparison with Thai-Buddhist in Pattani province in order to further explore whether such differences may become marginalized. The secondary data from the survey carried out for assessing the reproductive health rights of the Thai-Muslim and Thai-Buddhist in Pattani 2011 was used. 440 samples with equal number of male and female aged 15-49 years who still married and living with their spouses were interviewed by using the structured questionnaire. The results showed that age at first sex, persons with whom have first sex, contraceptive used, and persons  who chose their spouses, were statistically significant  among Thai-Muslim compared to Thai-Buddhist. Proportion of male and female Thai-Muslims  who had first sex at aged less than 20 years were less than Thai-Buddhist  particularly female, and more than half did not use any modern contraceptive method. So parents hesitated to find the spouse for their children, these caused a low age at married and more than half had a short period to learn each other and adapted together with difficulties after their married, including  the resulted on sexual and family violence among Thai-Muslim. These differences may become marginalized if the government cannot provide the access and convenient services for the Thai-Muslim, according with woman development in order to raise woman status.
Keywords: reproductive rights, Muslim women, Pattani province, marginalisation      
         
          รัฐบาลไทยได้ให้พันธะสัญญาไว้กับประชาคมโลกในการประชุมนานาชาติเรื่องประชากรและการพัฒนา (ICPD’94) ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ใน พ.ศ.2537  ซึ่งผลของการประชุมครั้งนี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอุดมการณ์ครั้งใหญ่ จากแนวคิดการควบคุมจำนวนประชากรมาสู่แนวคิดการคุ้มครองสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ (ภัสสร, 2547)  โดย “อนามัยเจริญพันธุ์ (Reproductive health)” ตามแผนปฏิบัติการไคโร หมายถึง บุคคลต้องมีวิถีชีวิตด้านเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย เป็นที่พึงพอใจ สามารถตัดสินใจได้อย่างเป็นอิสระว่าจะมีหรือไม่มีลูก จะมีเมื่อไร จะมีกี่คน และจะเว้นระยะห่างของบุตรแต่ละคนอย่างไร ในการนี้บุคคลทั้งหญิงและชายต้องได้รับข้อมูลและเข้าถึงวิธีการคุมกำเนิดที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับ ในราคาที่สามารถจ่ายได้โดยไม่ลำบาก รวมถึงวิธีควบคุมการเจริญพันธุ์อย่างอื่น ๆ ที่บุคคลต้องการ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย นอกจากนี้แล้ว บุคคลยังมีสิทธิการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เหมาะสมกับตัวเอง อันจะช่วยให้ผู้หญิงสามารถผ่านพ้นภาวะการตั้งครรภ์และการคลอดอย่างปลอดภัย และช่วยให้คู่สมรสมีโอกาสที่จะได้บุตรที่สุขภาพดี (กองอนามัยการเจริญพันธุ์, 2554) นอกจากนี้ประชาคมระหว่างประเทศได้มีการรับรองในเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ว่าคู่สมรสทุกคู่และทุกคน มีสิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีลูกหรือไม่ และจะมีลูกเมื่อไร แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากทั่วโลกที่ต้องการเว้นระยะการมีบุตรแต่ แต่ไม่สามารถเข้าถึงวิธีการคุมกำเนิดสมัยใหม่ อันนี้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ซึ่งส่งผลที่น่าตกใจคือมีคนที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจหลายล้านคน ส่งผลให้บ่อยครั้งมีการทำแท้งโดยไม่ปลอดภัยหรือเกิดการตายของมารดาและทารก รวมทั้งทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศยากจน (UNFPA, 2004)
จากความหมายดังกล่าว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า 'อนามัยเจริญพันธุ์' นั้นมีความเกี่ยวพันกับมิติต่าง ๆ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชีวิตบุคคลอย่างกว้างขวาง และยังเกี่ยวข้องกับการที่บุคคลจะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพื่อบรรลุถึงการมีอนามัยเจริญพันธุ์ที่ดี ซึ่งนานาชาติถือว่าสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ได้รวมเอาสิทธิทางเพศเข้าไว้ด้วย ในฐานะเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงได้รับ (Reproductive rights are human rights) (สุวรรณา และคณะ, 2545: หน้า 1-2) นอกจากนี้ ยังเห็นได้ชัดว่า 'อนามัยเจริญพันธุ์' เป็นเรื่องของประชาชนทั้งหญิงและชาย โดยผู้หญิงเป็นกลุ่มที่มีภาระในเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์หลากหลายประเด็นกว่าชาย นโยบายและการปฏิบัติงานด้านอนามัยเจริญพันธุ์จึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
อย่างไรก็ดี ความไม่เท่าเทียมของหญิงชายยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ฝังรากลึกในหลายวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และวัฒนธรรม จึงต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจร่วมกัน ดังนั้น การพัฒนางานทางด้านอนามัยเจริญพันธุ์ต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ โดยขึ้นอยู่กับความเข้าใจและความเคารพในวัฒนธรรมของคนกลุ่มต่างๆอย่างแท้จริง (กองทุนประชากรแห่งสหประชาติ, 2551)  บทความนี้จึงให้ความสนใจกับคนมุสลิมภาคใต้ของไทย ซึ่งถือเป็นกลุ่มคนชายขอบของดินแดนรัฐไทยในบริบทของความมั่นคง ความเป็นชายแดน (ในทางภูมิศาสตร์ที่อยู่อาศัย) และบริบทของชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี วัฒนธรรม สังคม และความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างจากชาวไทยพุทธ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของภาคใต้ (สุริชัย, 2550: 46) ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหา/ผลกระทบต่อสมรรถภาพของผู้หญิงในการสมรส การตั้งครรภ์ การคุมกำเนิด ความรุนแรงที่มีรากฐานมาจากการเลือกปฏิบัติต่อหญิง และการกระทำที่ละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
            การศึกษาครั้งนี้ได้เลือกจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนามาตั้งแต่ในอดีต มีประชากร ทั้งสิ้น 655,259 คน โดยประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 88) ส่วนประชากรที่เหลือนับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 12) ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก ปี พ.ศ 2549 พบว่า หญิงวัยเจริญพันธุ์กว่าครึ่งแต่งงานครั้งแรกอายุน้อยกว่า 20 ปี (ร้อยละ 51) อัตราการตั้งครรภ์ครั้งแรกของประชากรวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี คือ  40 ต่อหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน และยังพบว่ามีการตั้งครรภ์สูงสุดถึงครรภ์ที่ 13 และมีปัญหาทารกในครรภ์และทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติสูง(สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี, 2554:18 & 87)  ข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เกือบสิบปีที่ผ่านมา พบว่าชาวไทยมุสลิมมีการสมรสเร็วกว่าชาวไทยพุทธ โดยจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีอายุแรกสมรสเฉลี่ยต่ำที่สุดในกลุ่ม 4 จังหวัดชายแดนใต้ที่มีคนไทยมุสลิมอาศัยอยู่จำนวนมาก คือ ประมาณ 14 ปี (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2546)
                อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข (2553) พบว่า ในปี 2551-2553 อัตราการเกิดของจังหวัดปัตตานีมีแนวโน้มลดลง เหลือ 19.10, 18.68 และ 15.48 ตามลำดับ แต่ก็ยังมากกว่าค่าเฉลี่ยในระดับประเทศและภาคใต้ ขณะที่ข้อมูลจากสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ (2553)รายงานว่าอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของปัตตานี เท่ากับ 40 ต่อ วัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปี1,000 คน ซึ่งอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่มีอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ต่ำ (ต่ำกว่า 50 ต่อ 1,000 คน)
ดังนั้น การนำบางประเด็นที่สำคัญในเรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์มาศึกษา ก็น่าจะแสดงให้เห็นว่าชาวไทยมุสลิมน่าจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นชายขอบของกระแสหลักของของสังคมไทยในด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ด้วยบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ไทยและโลกเข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งมองว่าสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์ถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หากคนไทยมุสลิมซึ่งมีมิติทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนาและวัฒนธรรมแตกต่างจากคนไทยพุทธ ไม่สามารถปรับตัวภายใต้กระแสของการเปลี่ยนแปลงนี้ ก็อาจทำให้คนไทยมุสลิมอาจถูกเบียดขับให้ไปอยู่วงนอกของประเด็นด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ได้ คำถามในการวิจัยครั้งนี้ก็คือ ชาวไทยมุสลิมมีพฤติกรรมอนามัยเจริญพันธุ์ และมีสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์แตกต่างจากชาวไทยพุทธหรือไม่ อย่างไร เพื่อให้เห็นภาพว่าชาวไทยมุสลิมจะกลายเป็นชายขอบด้านอนามัยเจริญพันธุ์หรือไม่ หรือเป็นเพียงความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์เท่านั้น 
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
  1. เพื่อศึกษาความแตกต่างด้านพฤติกรรมอนามัยเจริญพันธุ์ (เช่น การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก อายุแรกสมรส) ของชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธ ในจังหวัดปัตตานี
  2. เพื่อศึกษาความแตกต่างด้านสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์ (เช่น การมีเพศสัมพันธ์ ตัดสินใจในการมีครอบครัว การตั้งครรภ์/การมีบุตร และการคุมกำเนิด) ของชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธ
  3. เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการเป็นคนชายขอบด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยมุสลิม
กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา
งานด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย หากแต่เป็นเรื่องที่ต้องการมุมมองใหม่ในด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ หรือที่เรียกว่า สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ (Reproductive Rights) ในการประชุม ICPD ที่ไคโร (ICPD, 2004:27) ได้กล่าวถึงสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ไว้ดังนี้
“สิทธิอนามัยเจริญพันธ์ คือ สิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกเพศในการตัดสินใจอย่างอิสระเสมอภาคและรับผิดชอบร่วมกันในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ปราศจากการบังคับ หรือใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งสิทธิในการตัดสินใจมีบุตร การเว้นระยะห่างและจำนวนบุตร ตลอดจนมีสิทธิได้รับข้อมูลในเรื่องดังกล่าวอย่างถูกต้อง ครบถ้วน มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน เพียงพอต่อการตัดสินใจเพราะสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของทุกเพศทุกวัย”
  •  
  • “สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยมุสลิมและไทยพุทธ จังหวัดปัตตานี” ใน พ.ศ. 2554 ซึ่งเก็บข้อมูลทั้งชายและหญิง อายุระหว่าง 15-49 ปีที่อาศัยอยู่กับคู่สมรส (เพศละ 110 คน) ในอำเภอเมือง อำเภอหนองจิก อำเภอโคกโพธิ์ และอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี  จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) โดยการสุ่มอำเภอ หมู่บ้าน ครัวเรือนและคู่สมรสที่ยังอยู่กินด้วยกัน ได้ตัวอย่างทั้งหมด 440 คน  และใช้แบบสอบถามบุคคลที่สร้างขึ้น ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานด้านประชากร เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งข้อมูลด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การมีบุตร ความรุนแรง ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรับบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ และการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตารางร้อยละและตารางไขว้ รวมทั้งมีการทดสอบนัยยะสำคัญ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเพศชายและหญิงที่สมรสแล้วทั้งหมด นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธอย่างละเท่าๆ กันคือ 110 คน รวมเป็นชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธอย่างละ 220 คน ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 25-34 ปี (ร้อยละ 26) และกลุ่มอายุ 35-44 ปี (ร้อยละ 34) มีอายุเฉลี่ยประมาณ 34.3 ปี (อัลญาณ์ และเพ็ญพักตร์, 2555) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ที่น่าสนใจบางประเด็น ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก การคุมกำเนิด การเลือกคู่ครอง การสมรส และความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงในครอบครัว จำแนกตามศาสนา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                การมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิด พบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างคนไทยมุสลิมมีอายุเฉลี่ยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกที่อายุใกล้เคียงกับไทยพุทธ (ไทยมุสลิม 18.7 ปีและไทยพุทธ 19.3 ปี) โดยคนไทยมุสลิมเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 47.7) และคนไทยพุทธประมาณ 1 ใน 3 (ร้อยละ 36.5) มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกที่อายุต่ำกว่า 20 ปี โดยเฉพาะหญิงไทยมุสลิมมีสัดส่วนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกที่อายุต่ำกว่า 20 ปีมากกว่าหญิงไทยพุทธมาก (หญิงไทยมุสลิมร้อยละ 43.0 และหญิงไทยพุทธร้อยละ 24.4) และมากกว่าชาย (ชายไทยมุสลิมและไทยพุทธ ร้อยละ 33.8 และ16.5 ตามลำดับ) ซึ่งความแตกต่างของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองศาสนามีนัยยะสำคัญไม่มาก (ค่าไคสแคว์=.04, มีนัยสำคัญที่ระดับ .05)
                ส่วนบุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยครั้งแรกก็คือ คู่สมรส (ไทยมุสลิม ร้อยละ 76.8 และไทยพุทธ ร้อยละ 64.5) และแฟน/คู่รัก (ไทยมุสลิม ร้อยละ 20.9 และไทยพุทธ ร้อยละ 26.4) โดยไทยมุสลิมทั้งชายและหญิง มีสัดส่วนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกกับบุคคลอื่น (ได้แก่ เพื่อน คนขายบริการทางเพศ และคนแปลกหน้า) ในสัดส่วนที่ต่ำมาก (ร้อยละ 0.5, 0.5 และ 1.4) ขณะที่คนไทยพุทธมีสัดส่วนที่สูงกว่า โดยเฉพาะกับเพื่อน (ร้อยละ 5.0, 2.7 และ 1.4) ซึ่งความแตกต่างของบุคคลที่เพศสัมพันธ์ครั้งแรกของกลุ่มตัวอย่างทั้งสอง ศาสนามีนัยยะสำคัญค่อนข้างมาก (ค่าไคสแคว์=.004, มีนัยสำคัญที่ระดับ .01)
                สำหรับการใช้วิธีคุมกำเนิดพบว่า คนไทยมุสลิมและคนไทยพุทธใช้วิธีคุมกำเนิดในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกแตกต่างกันอย่างชัดเจน หรือมีนัยยะสำคัญในระดับดี (ค่าไคสแคว์=.001) โดยคนไทยมุสลิมน้อยกว่าครึ่งใช้วิธีคุมกำเนิดในการมีเพศสัมพันธุ์ครั้งแรก (ร้อยละ 40) โดยเฉพาะถุงยางอนามัยและยาเม็ดคุมกำเนิด (ร้อยละ 26.1 และ 10.2) รองลงมาคือการนับระยะปลอดภัย ซึ่งเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์สูง (ร้อยละ 13) ส่วนคนไทยพุทธกว่าครึ่ง ใช้วิธีคุมกำเนิด (ร้อยละ 55.9) โดยเฉพาะถุงยางอนามัย และยาเม็ดคุมกำเนิดเช่นกัน (ร้อยละ 26.8 และ 14.6) รองลงมาคือการหลั่งภายนอก ซึ่งเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 13.8) ความแตกต่างของวิธีคุมกำเนิดที่ใช้มีความแตกต่างระหว่างชายและหญิงอย่างชัดเจน โดยหญิงไทยมุสลิมยังใช้วิธีนับระยะปลอดภัยมากที่สุด (ร้อยละ 13.0) ขณะที่หญิงไทยส่วนใหญ่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด (ร้อยละ 27.3) อย่างไรก็ตาม การใช้วิธีการคุมกำเนิดของคนทั้งสองศาสนา แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็ไม่มาก (ค่าไคสแคว์=.046, มีนัยสำคัญที่ระดับ .05) 
                การใช้ถุงยางคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของผู้ชายไทยพุทธและไทยมุสลิม สะท้อนมุมมองในแง่ความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์ รวมทั้งความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์และโรคทางเพศสัมพันธ์ แต่การที่ชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธ เกือบร้อยละ 40 ไม่ใช้วิธีคุมกำเนิด รวมทั้งใช้วิธีการนับระยะปลอดภัยและการหลั่งภายนอกในสัดส่วนที่สูง ก็ยิ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูง ซึ่งอาจมีปัญหาการทำแท้งตามมา รวมทั้งส่งผลให้มีการสมรสที่อายุน้อย เนื่องจากพ่อแม่บังคับให้ต้องแต่งงานก่อนจะมีปัญหาอื่นตามมา ส่งผลให้สตรีต้องรับภาระการตั้งครรภ์เร็วก่อนวัยอันควร (ดูตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 ร้อยละของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกและการคุมกำเนิด จำแนกตามศาสนาและเพศ
  รวม ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ
ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม
อายุเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 440 100 100 200 100 100 200
ต่ำกว่า 20 ปี 42.3 46.7 48.8 47.7 36.5 36.6 36.5
20-24 ปี 24.2 17.8 32.6 25.0 18.8 28.0 23.4
25-29 ปี 28.9 28.9 15.1 22.2 40.0 31.7 35.9
30 ปีขึ้นไป 4.7 6.7 3.5 5.1 4.7 3.7 4.2
อายุเฉลี่ยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก (ปี) 18.99 19.41 18.07 18.74 19.69 18.80 19.25
X2 .038     .036     .488
บุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยครั้งแรก
คู่สมรส 70.7 71.8 81.8 76.8 59.1 70.0 64.5
แฟน 23.6 25.5 16.4 20.9 30.0 22.7 26.4
เพื่อน 2.7 0.0 0.9 0.5 2.7 7.3 5.0
คนขายบริการทางเพศ 1.6 0.9 0.0 0.5 5.5 0.0 2.7
คนแปลกหน้า 1.4 1.8 0.9 1.4 2.7 0.0 1.4
X2 .004     .265     .010
การคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
ใช้ 48.0 34.5 45.5 40.0 61.8 50.0 55.9
ไม่ใช้ 52.0 65.5 54.5 60.0 38.2 50.0 44.1
X2 .001     .099     .078
วิธีคุมกำเนิดที่ใช้เมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
ถุงยางอนามัย 26.5 47.4 10.0 26.1 38.2 12.7 26.8
ยาเม็ดคุมกำเนิด 12.8 2.6 16.0 10.2 4.4 27.3 14.6
ยาฉีดคุมกำเนิด 2.4 5.3 2.0 3.4 0.0 3.6 1.6
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน 0.5 0.0 0.0 0.0 0.0 1.8 0.8
การหลั่งภายนอก 11.4 10.5 6.0 8.0 11.8 16.4 13.8
นับระยะปลอดภัย 7.1 7.9 18.0 13.6 0.0 5.5 2.4
ไม่ได้คุม/ไม่แน่ใจ 39.3 26.3 48.0 38.6 45.6 32.7 39.8
X2 .046     .001     .0001
 
                ที่มา: การสำรวจ “สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยมุสลิมและไทยพุทธ จังหวัดปัตตานี”  พ.ศ. 2554.
การเลือกคู่ครอง พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสองศาสนามีสิทธิในการเลือกคู่ครองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในระดับมาก (ค่าไคสแคว์=.001, มีนัยยะสำคัญที่ระดับ .001) ชาวไทยมุสลิมทั้งชายและหญิงมีสัดส่วนการเลือกคู่ครองด้วยตนเองในสัดส่วนที่ต่ำกว่าชาวไทยพุทธ (ชาวไทยมุสลิม ร้อยละ 62.3 ชาวไทยพุทธ ร้อยละ 76.8) โดยชาวไทยมุสลิมกว่าครึ่ง (ร้อยละ 56.6) มีพ่อและ/แม่เป็นผู้เลือกคู่ครองให้ โดยเฉพาะสตรีไทยมุสลิม (ร้อยละ 70.2) ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจมาจากหลักศาสนาที่ว่า สตรีมุสลิมไม่มีอิสระ/สิทธิในการเลือกคู่ครองเอง ต้องอยู่ภายใต้ความเห็นชอบของผู้ปกครอง ในขณะที่ชาวไทยพุทธน้อยกว่าครึ่ง (ร้อยละ 41.2) มีพ่อและ/แม่เป็นผู้เลือกคู่ครองให้ แม้แต่สตรีไทยพุทธยังมีสัดส่วนที่พ่อและ/แม่เป็นผู้เลือกคู่ครองให้ต่ำกว่าชาย (ร้อยละ 36.7 และ 47.6 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม ญาติก็มีบทบาทสำคัญในการเลือกคู่ครองให้แก่ทั้งชาวไทยมุสลิมและไทยพุทธ (ร้อยละ 24.1 และ 25.5 ตามลำดับ) โดยทั้งสองศาสนามีบุคคลที่เลือกคู่ครองให้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในระดับไม่มาก (ค่าไคสแคว์=.043, มีนัยสำคัญที่ระดับ .05)
สำหรับความคิดเห็นต่อการที่มีบุคคลอื่น (นอกจากตนเอง) เลือกคู่ครองให้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างไทยพุทธมีสัดส่วนของการเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยที่บุคคลอื่นเลือกคู่ครองให้มากกว่าชาวไทยมุสลิม (ไทยพุทธเห็นด้วยร้อยละ 43.1และไม่เห็นด้วย ร้อยละ 45.1) ส่วนชาวไทยมุสลิมที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย มีประมาณ 1 ใน 3 (เห็นด้วย ร้อยละ 32.5, ไม่เห็นด้วยร้อยละ 36.1 ตามลำดับ) ที่ไม่ออกความเห็นมีถึงร้อยละ 31.3 เป็นที่น่าสังเกตว่าสตรีไทยมุสลิมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยและไม่ออกความเห็นต่อการที่มีบุคคลอื่นเลือกคู่ครองให้ (ร้อยละ 42.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 36.1 ไม่ออกความเห็น) ทั้งสองศาสนามีความคิดเห็นต่อบุคคลที่เลือกคู่ครองให้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในระดับไม่มาก (ค่าไคสแคว์=.036, มีนัยสำคัญที่ระดับ .05)
ส่วนระยะเวลาในการศึกษาเรียนรู้คู่ครองก่อนการแต่งงาน พบว่า เกือบร้อยละ 40 ของชาวไทยมุสลิม มีระยะเวลาในการศึกษาเรียนรู้คู่ครองน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งมากกว่าชาวไทยพุทธ (ไทยมุสลิมร้อยละ 37.7, ไทยพุทธ ร้อยละ 28.6) ขณะที่ชาวไทยพุทธไม่ถึง 1 ใน 3 ที่มีเวลาเรียนรู้คู่ครองน้อยกว่า 1 ปี (ร้อยละ 28.6) แต่ส่วนใหญ่มีเวลาในการศึกษาเรียนรู้คู่ครอง 2-5 ปี (ร้อยละ 40.0) โดยเฉพาะสตรีไทยพุทธ เกือบครึ่งหนึ่งมีสัดส่วนของการเรียนรู้คู่ครอง ราว 2-5 ปี (ร้อยละ 47.3) (ดูตารางที่ 2)    
ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติดังกล่าวขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพในด้านความคิด สิทธิในการเลือกคู่สมรส และการวางรากฐานครอบครัว โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิม กว่าหนึ่งในสามยังไม่มีสิทธิในการเลือกคู่ครองเอง ยังต้องให้พ่อ แม่หรือญาติเป็นผู้เลือกคู่ครองให้ แม้จะชอบพอกับคนอื่นอยู่แล้ว โดยเฉพาะสตรีไทยมุสลิมต้องเข้าสู่การสมรสโดยบุคคลอื่นเป็นผู้ตัดสินใจให้ ทั้งๆ ที่ตนเองไม่เห็นด้วยหรือไม่กล้าแสดงความคิดเห็น (เกือบร้อยละ 80) นอกจากนี้ การที่ชาวไทยมุสลิมกว่าครึ่งมีระยะเวลาเรียนรู้คู่สมรสก่อนมีครอบครัวน้อยกว่า 1 ปี ก็ทำให้เกิดความยากลำบากในการปรับตัวเข้าหากัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการหย่าร้างตามมา หรือผู้หญิงต้องตกอยู่ในสภาวะยากลำบากหากหย่ากันไม่ได้ แม้ว่ากฎหมายอิสลามให้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีสิทธิขอหย่าได้ แต่ผู้หญิงต้องมีผู้แทน แต่ในทางปฏิบัติผู้ชายขอหย่าได้ง่ายกว่าผู้หญิง (อังคณา, 2554) 
การเจริญพันธุ์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างคนไทยมุสลิมและไทยพุทธส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70) มีประสบการณ์ในการมีบุตร โดยคนไทยมุสลิมมีบุตรครั้งแรกที่อายุยังน้อยมีสัดส่วนมากกว่าคนไทยพุทธ กล่าวคือคนไทยมุสลิมมีสัดส่วนของการมีบุตรครั้งแรกที่อายุ 15-19 ปี ร้อยละ 12.7 (โดยเฉพาะสตรีไทยมุสลิมมีร้อยละ 18.4) ส่วนคนไทยพุทธมีบุตรครั้งแรกที่อายุ 15-19 ปี ร้อยละ 8.2 (สตรีไทยพุทธร้อยละ 15.8) อายุเฉลี่ยเมื่อมีบุตรคนแรกของคนทั้งสองศาสนามีความแตกต่างกันเล็กน้อย (ไทยมุสลิม 24.7 ปี ไทยพุทธ 25.5 ปี) ถ้าเปรียบเทียบกับการสำรวจอนามัยเจริญพันธุ์ พ.ศ. 2552 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2552) พบว่า อายุเฉลี่ยเมื่อมีบุตรคนแรกสูงกว่าภาคใต้ทั่วไปเล็กน้อย (23.6 ปี) แต่คนไทยมุสลิมยังมีจำนวนบุตรสูงกว่าคนไทยพุทธ (คนไทยมุสลิมมีบุตรเฉลี่ยจำนวน 2.32 คน คนไทยพุทธมี 2.03 คน) จำนวนบุตรที่คิดว่าเหมาะสมของคนไทยมุสลิม คือ 3-4 คน (ร้อยละ 80) ขณะที่คนไทยพุทธครึ่งหนึ่งเห็นว่าควรมีบุตร 2 คน แสดงว่าคนมุสลิมมีลูกเร็วและมีค่านิยมของการมีขนาดครอบครัวที่ใหญ่กว่า อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างเพศของอายุในการมีบุตรครั้งแรกมีนัยยะสำคัญสูงในกลุ่มไทยมุสลิม (มีนัยสำคัญที่ระดับ .0001) มากกว่ากลุ่มไทยพุทธ (มีนัยสำคัญที่ระดับ .001)  แต่ความแตกต่างของทั้งสองศาสนามีนัยสำคัญไม่มากนัก (มีนัยสำคัญที่ระดับ .01)  
เมื่อถามสิทธิในการมีบุตร โดยถามถึงความต้องการมีบุตรในขณะที่ตั้งครรภ์บุตรคนสุดท้อง พบว่า คนไทยมุสลิมทั้งชายและหญิงเกือบ 1 ใน 5 (ร้อยละ19.7) ที่แม้ว่าจะมีความต้องการบุตร แต่สำหรับครรภ์นี้ไม่ใช่มีในช่วงเวลานี้ และอีกร้อยละ 8.9 ไม่ได้มีความต้องการบุตรสำหรับครรภ์นี้ (โดยเฉพาะสตรีไทยมุสลิม ร้อยละ 9.2) ขณะที่ความต้องการมีบุตรแต่ไม่ใช่มีในช่วงเวลานี้ของคนไทยพุทธมีสัดส่วนน้อยกว่า (ร้อยละ 8.2) แต่สัดส่วนของคนไทยที่ตอบว่า “ไม่ต้องการบุตร” มีสูงกว่า (ร้อยละ 11.0) อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของทั้งสองศาสนามีนัยสำคัญไม่มากนัก (ค่าไคสแคว์ =.004, มีนัยสำคัญที่ระดับ .01) ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทั้งคนไทยมุสลิมและคนไทยพุทธส่วนใหญ่มีสิทธิในการตัดสินใจได้อย่างเสรีในการที่จะมีบุตรกี่คน (ตามสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ข้อที่ 8)
แต่การตัดสินใจที่จะมีบุตรเมื่อไร พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสองศาสนา ยังมีปัญหาเรื่องช่วงเวลาในการตั้งครรภ์หรือมีบุตรที่ยังไม่ตรงกับความต้องการ แสดงว่า ยังมีช่องว่างของความต้องการการวางแผนครอบครัว (Unmet need) ซึ่งอาจจะเกิดจากการขาดความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย และรอบด้าน เกี่ยวกับวิธีการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม การไม่สามารถเข้าถึงบริการวางแผนครอบครัวที่มีอยู่ (อาจเนื่องด้วยหลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่ไม่ส่งเสริมให้คุมกำเนิด หรือถ้าจะคุมกำเนิดก็ต้องเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดที่ไม่ขัดกับหลักธรรมชาติและไม่เป็นการทำลายชีวิต และสตรีมุสลิมไม่สามารถไปขอรับบริการวางแผนครอบครัวได้โดยปราศจากความยินยอมจากสามี) รวมทั้ง คุณภาพบริการวางแผนครอบครัวไม่ประทับใจหรือไม่สะดวกใจสำหรับผู้รับบริการ สังเกตได้จากสัดส่วนการไปขอรับบริการจากคณะกรรมการอิสลามที่ทั้งคนไทยมุสลิมและไทยพุทธ มีสัดส่วนการใช้บริการค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับสถานบริการของรัฐประเภทต่างๆ (ดูตารางที่ 2 และ3)
 
 
 
ตารางที่ 2 ร้อยละของการเลือกคู่สมรส จำแนกตามศาสนาและเพศ
  รวม ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ
ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม
การเลือกคู่สมรส 440 100 100 200 100 100 200
เลือกด้วยตนเอง 69.5 67.3 57.3 62.3 80.9 72.7 76.8
ไม่ได้เลือกด้วยตนเอง 30.5 32.7 42.7 37.7 19.1 27.3 23.2
X2 .001     .126     .150
บุคคลที่เลือกคู่สมรสให้
พ่อ/ แม่ 50.7 38.9 70.2 56.6 47.6 36.7 41.2
พี่/น้อง 14.2 19.4 10.6 14.5 4.8 20.0 13.7
ปู่ย่า/ตายาย 10.4 2.8 6.4 4.8 19.0 20.0 19.6
ญาติ 24.6 38.9 12.8 24.1 28.6 23.3 25.5
X2 .043     .013     .550
ความรู้สึกต่อการที่บุคคลอื่นเลือกคู่สมรสให้
เห็นด้วย 36.6 47.2 21.3 32.5 42.9 43.3 43.1
ไม่เห็นด้วย 39.6 27.8 42.6 36.1 42.9 46.7 45.1
 ไม่มีความเห็น 23.9 25.0 36.2 31.3 14.3 10.0 11.8
X2 .036     .044     .890
ระยะเวลาในการศึกษาและเรียนรู้ก่อนสมรส
1 ปีหรือน้อยกว่า 33.2 43.6 31.8 37.7 35.5 21.8 28.6
2-5 ปี 35.0 31.8 28.2 30.0 32.7 47.3 40.0
6 ปีขึ้นไป 4.1 3.6 3.6 3.6 4.5 4.5 4.5
ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ 27.7 20.9 36.4 28.6 27.3 26.4 26.8
X2 .101     .076     .090
หน่วยงานที่เคยไปขอคำปรึกษาการวางแผนครอบครัว
โรงพยาบาล/สถานบริการของรัฐ 23.0 26.1 26.1 26.1 11.8 24.3 20.4
โรงพยาบาล/สถานบริการของเอกชน 14.0 4.3 4.3 4.3 17.6 24.3 22.2
ศูนย์บริการสาธารณสุข 8.0 17.4 4.3 10.9 11.8 2.7 5.6
สถานีอนามัย 23.0 8.7 30.4 19.6 29.4 24.3 25.9
สำนักงานกรรมการอิสลาม 32.0 43.5 34.8 39.1 29.4 24.3 25.9
ไม่เคยไปขอรับบริการฯ 77.2 79.1 79.1 79.1 84.5 66.1 75.3
X2 .069     .308     .543
 
     ที่มา: การสำรวจ “สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยมุสลิมและไทยพุทธ จังหวัดปัตตานี”  พ.ศ. 2554
 
 
 
 
ตาราง 3 ร้อยละของการเจริญพันธุ์ จำแนกตามศาสนาและเพศ
  รวม ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ รวม
ชาย หญิง รวม ชาย หญิง
อายุเมื่อมีบุตรครั้งแรก
15-19 ปี 10.6 7.4 18.4 12.7 0.0 15.8 8.2
20-24 ปี 26.7 14.8 31.6 22.9 34.3 27.6 30.8
25-29 ปี 36.3 38.3 35.5 36.9 38.6 32.9 35.6
30 ปีขึ้นไป 15.8 22.2 1.3 12.1 25.7 14.5 19.9
ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ 10.6 17.3 13.2 15.3 1.4 9.2 5.5
อายุเฉลี่ยเมื่อมีบุตรคนแรก (ปี) 25.07 26.31 22.95 24.65 26.61 24.35 25.48
  X2 .011     .0001     .001
ขณะตั้งครรภ์คนสุดท้อง ต้องการบุตร?
ต้องการมีบุตรในช่วงนั้นพอดี 48.8 45.7 35.5 40.8 68.6 47.4 57.5
ต้องการมีบุตร แต่ไม่ใช่ช่วงเวลานั้น 14.2 19.8 19.7 19.7 1.4 14.5 8.2
อย่างไรก็ได้ 27.1 25.9 35.5 30.6 20.0 26.3 23.3
ไม่ต้องการมีบุตร 9.9 8.6 9.2 8.9 10.0 11.8 11.0
X2 .004     .534     .011
จำนวนบุตร
1 คน 32.1 42.0 23.7 33.1 25.7 36.0 31.0
2 คน 35.4 19.8 27.6 23.6 51.4 45.3 48.3
3 คนขึ้นไป 32.4 38.3 48.7 33.3 22.8 18.6 20.7
จำนวนบุตรเฉลี่ย (คน) 2.18 2.15 2.51 2.32 2.10 1.97 2.03
  X2 .001     .091     .605
จำนวนบุตรที่คิดว่าเหมาะสม
1 - 2คน 17.6 22.2 10.3 17.6 54.5 56.0 55.3
3 - 4 คน 71.8 64.5 82.8 71.6 27.2 36.0 31.9
    ไม่แน่ใจ 10.8 13.3 6.9 10.8 18.2 8.0 12.8
X2 .000     .063     .735
 
     ที่มา: การสำรวจ “สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยมุสลิมและไทยพุทธ จังหวัดปัตตานี”  พ.ศ. 2554
ความรุนแรงทางเพศและในครอบครัว เมื่อถามความรุนแรงทางเพศว่า “คุณเคยถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์หรือไม่”  พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่นับถือศาสนาอิสลาม มีสัดส่วนการถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์สูงกว่าผู้ที่นับถือศาสนาพุทธกว่าสองเท่า (คนมุสลิม ร้อยละ 13.6 และ ร้อยละ 5.5 ตามลำดับ) โดยสตรีไทยมุสลิมมีสัดส่วนการถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์สูงกว่าสตรีไทยพุทธเกือบหกเท่า (สตรีไทยมุสลิมร้อยละ 17.3 และสตรีไทยพุทธ ร้อยละ 2.7) และมีนัยสำคัญค่อนข้างสูง (ค่าไคสแคว์=.003, มีนัยสำคัญที่ระดับ .01) โดยบุคคลที่บังคับให้มีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่ (เกือบร้อยละ 80) คือคู่สมรสคนปัจจุบัน (ไทยมุสลิมร้อยละ 86.7 ไทยพุทธ ร้อยละ 58.3) รองลงมาคือ เพื่อน (ร้อยละ 66.7 และ 58.3 ตามลำดับ) โดยเฉพาะเพศชาย
เมื่อถามถึงความรุนแรงในครอบครัว พบว่า สตรีไทยมุสลิมเคยถูกทำร้ายร่างกายมากกว่าสตรีไทยพุทธ (สตรีไทยมุสลิมร้อยละ 24.5 และสตรีไทยพุทธ ร้อยละ 18.2) และความแตกต่างดังกล่าวมีนัยสำคัญไม่มาก (ค่าไคสแคว์=.028, มีนัยสำคัญที่ระดับ .05) บุคคลที่ทำร้ายร่างกาย ส่วนใหญ่ตอบว่า คู่สมรสปัจจุบัน (สตรีไทยมุสลิมร้อยละ 85.7 สตรีไทยพุทธร้อยละ 58.3) สำหรับคนที่ยังไม่แต่งงานตอบว่า แฟนคนปัจจุบัน (สตรีไทยมุสลิมร้อยละ 14.3 และ สตรีไทยพุทธ 41.7) ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สตรีทั้งสองศาสนายังประสพปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศจากการบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะจากคู่สมรสปัจจุบัน และเพื่อน (โดยเฉพาะเพศชายในทั้งสองศาสนา) นอกจากนี้ สตรีไทยมุสลิมยังถูกทำร้ายร่างกายโดยคู่สมรสปัจจุบัน ซึ่งการถูกล่วงละเมิดทางเพศและความรุนแรงในครอบครัวสะท้อนให้เห็นว่า สตรีมุสลิมยังมีปัญหาสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ในด้านการได้รับความปลอดภัยจากการทารุณกรรมและการปฏิบัติมิชอบจากความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบมากกว่าสตรีไทยพุทธ (สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ข้อ 11) ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการมีเพศสัมพันธุ์ครั้งแรกและการสมรสก่อนวัยอันควรและการไม่ได้เลือกคู่ครองเอง (ดูตารางที่ 4)
                เมื่อถามถึงความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ พบว่า ผู้ที่นับถือศาสนาทั้งสองศาสนาทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่รู้จักเอชไอวี/เอดส์ โดยผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมีสัดส่วนสูงกว่าศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 76.8 และ ร้อยละ 61.4 ตามลำดับ) แต่ไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศของความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ และความแตกต่างดังกล่าวมีนัยสำคัญในระดับมาก (ค่าไคสแคว์=.0001, มีนัยสำคัญที่ระดับ .001) ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ชาวไทยมุสลิมเกือบร้อยละ 40 ยังมีปัญหาความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี/ โรคเอดส์
ตารางที่ 4 ร้อยละของความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงในครอบครัว จำแนกตามศาสนาและเพศ
  รวม ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ  
ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม
การถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ 440 100 100 200 100 100 200
เคย 9.5 10.0 17.3 13.6 8.2 2.7 5.5
ไม่เคย 90.5 90.0 82.7 86.4 91.8 97.3 94.5
X2 .003     .116     .075
บุคคลที่บังคับให้มีเพศสัมพันธ์ (yes =ใช่)
คู่สมรสปัจจุบัน 78.6 81.8 89.5 86.7 77.8 0.0 58.3
คู่สมรสเก่า 7.1 0.0 10.5 6.7 0.0 33.3 8.3
แฟนปัจจุบัน 7.1 9.1 0.0 8.3 22.7 0.0 16.7
แฟนเก่า 7.1 9.1 0.0 3.3 0.0 66.7 16.7
เพื่อน 64.3 72.7 63.2 66.7 77.8 0.0 58.3
การถูกทำร้ายร่างกาย (yes =ใช่)
เคย 21.6 27.3 24.5 25.9 16.4 18.2 17.3
ไม่เคย 78.4 72.7 75.5 74.1 83.6 81.8 82.7
X2 .028     .644     .721
บุคคลที่ทำร้ายร่างกาย (yes =ใช่)
คู่สมรสปัจจุบัน 75.0 80.0 85.7 83.3 77.8 0.0 58.3
คู่สมรสเก่า 2.8 10.0 0.0 4.2 0.0 0.0 0.0
แฟนปัจจุบัน    22.2 10.0 14.3 12.5 22.2 100.0 41.7
แฟนเก่า 16.7 30.8 6.7 17.9 0.0 40.0 14.3
เพื่อน 5.6 0.0 0.0 0.0 0.0 66.7 16.7
ญาติ 36.8 33.3 33.3 33.3 35.7 57.1 42.9
อื่นๆ 47.8 54.5 30.0 42.9 30.8 78.6 55.6
ความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์
รู้ 69.1 61.8 60.9 61.4 76.4 77.3 76.8
ไม่รู้ 30.9 38.2 39.1 38.6 23.6 22.7 23.2
X2 .0001     .890     .873
 
     ที่มา: การสำรวจ “สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยมุสลิมและไทยพุทธ จังหวัดปัตตานี” พ.ศ. 2554
อภิปรายผล
งานศึกษานี้ได้ศึกษาประเด็นสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์เพียงบางประเด็น เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและความรับผิดชอบเกี่ยวกับวิถีชีวิตด้านเพศ สุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ และความรุนแรง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า คนไทยพุทธและไทยมุสลิมทั้งชายหญิง มีอายุเฉลี่ยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกไม่แตกต่างกันมากนัก คือประมาณ 19 ปี แต่สัดส่วนของคนไทยมุสลิมทั้งชายและหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกที่อายุต่ำกว่า 20 ปีมีมากกว่าคนไทยพุทธกว่า 1 เท่าตัว โดยความแตกต่างของ อายุเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ระหว่างคนไทยมุสลิมและกับคนไทยพุทธมีนัยสำคัญไม่มากนัก (ที่ระดับ .05) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามาจากประชากรจังหวัดปัตตานี ซึ่งมีการอยู่ร่วมกันเป็นลักษณะของสังคมเปิด ระหว่างคนไทยพุทธและคนไทยมุสลิม ซึ่งส่งผลให้รูปแบบการดำเนินชีวิตในสังคม รวมทั้งเรื่องเพศ ของคนทั้งสองศาสนาแตกต่างกันไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม คนไทยมุสลิมก็มีเพศวิถีที่มีพื้นฐานจากหลักการทางศาสนาที่เป็นกรอบในการปฏิบัติ แม้จะมีเพศสัมพันธ์ที่อายุน้อยกว่าคนไทย (โดยเฉพาะสตรีมุสลิม) แต่ส่วนใหญ่ก็แต่งงานกับบุคคลที่เป็นคู่สมรสปัจจุบัน ดังคำกล่าวที่ว่า “ชีวิตทางเพศไม่ใช่สิ่งต้องห้ามในอิสลามและชาวมุสลิมจะต้องรู้ถึงเพศศึกษาในอิสลาม และการทำให้คู่รักพอใจ ซึ่งโดยปกติแล้วมุสลิมทั้งชายและหญิงจะร่วมเพศครั้งแรกกับคู่แต่งงานเท่านั้น” (จรัญ, 2554)
ส่วนการคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ก็พบเช่นเดียวกันว่าคนไทยมุสลิมใช้วิธีคุมกำเนิดน้อยกว่าคนไทยพุทธ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานและที่อายุน้อยอาจเป็นเรื่องปกติ/ไม่ใช่ปัญหาสำหรับวัยรุ่นในยุคโลกาภิวัตน์ ถ้ามีการคุมกำเนิด แต่ผลจากการศึกษาพบว่า คนไทยมุสลิมกว่าครึ่งหนึ่งไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ขณะที่คนไทยใช้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ วิธีคุมกำเนิดที่ใช้เมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพต่ำ โดยเฉพาะวิธีนับระยะปลอดภัย เช่นเดียวกับคนไทยพุทธที่ใช้วิธีการหลั่งภายนอกในสัดส่วนใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 14)  
การมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยและไม่ใช้/ใช้วิธีคุมกำเนิดแบบธรรมชาติ มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรืออาจมีปัญหาการทำแท้งตามมา หรือต้องรีบสมรสตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากถูกบังคับให้ต้องแต่งงานก่อนที่ปัญหาอื่นจะตามมา (ฉวีวรรณ, 2526) ส่งผลให้สตรีมุสลิมต้องรับภาระในการตั้งครรภ์และดูแลบุตรก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ อายุเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกที่ค่อนข้างต่ำ สะท้อนให้เห็นถึงการมีอายุแรกสมรสที่ค่อนข้างต่ำด้วย สอดคล้องกับการสำรวจอนามัยเจริญพันธุ์ภาคใต้เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้วของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2546) ที่พบว่าคนไทยมุสลิมแต่งงานเร็วกว่าไทยพุทธ ซึ่งเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามที่ให้ชาวไทยมุสลิมสามารถแต่งงานได้เร็ว ตั้งแต่อายุ 12-13 ปี เป็นที่ทราบกันดีว่าสังคมมุสลิมเป็นสังคมที่มีความเคร่งครัดในเรื่องศาสนาโดยเฉพาะเรื่องเพศ บทบัญญัติทางศาสนาว่าด้วยเรื่องเพศนั้นมีกล่าวไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการประพฤติและการปฏิบัติตนของชายและหญิงมุสลิมว่าสิ่งใดควรทำ และสิ่งใดไม่ควรทำ ซึ่งบทบัญญัติทางศาสนาสามารถสะท้อนจุดยืนของศาสนาอิสลามที่ปลูกฝังพฤติกรรมทางเพศได้เป็นอย่างดี
สำหรับการเลือกคู่ครอง กลุ่มตัวอย่างไทยมุสลิมทั้งชายและหญิงมีสิทธิในการเลือกคู่ครองด้วยตนเองในสัดส่วนที่ต่ำกว่าชาวไทยพุทธ อย่างมีนัยสำคัญในระดับมาก ทั้งนี้ เนื่องจากตามหลักศาสนาอิสลาม สตรีมุสลิมสามารถแต่งงานได้ตั้งแต่อายุ 12-13 ปีขึ้นไป ผู้ชายตั้งแต่ 7-19 ปี ขึ้นไป พ่อแม่มีส่วนในการหาหรือเลือกคู่ครองให้กับลูก หรือต้องอยู่ภายใต้ความเห็นชอบของผู้ปกครอง โดยเฉพาะสตรีมุสลิมไม่มีอิสระ/สิทธิในการเลือกคู่ครองเอง โดยส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพในด้านความคิด และสิทธิในการเลือกคู่สมรส และการวางรากฐานครอบครัว นอกจากนี้การที่ชาวไทยมุสลิมกว่าครึ่งมีระยะเวลาเรียนรู้คู่สมรสก่อนมีครอบครัวน้อยกว่า 1 ปี ก็ทำให้เกิดความยากลำบากในการปรับตัวเข้าหากัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการหย่าร้างตามมา แต่กฎหมายอิสลามให้ผู้ชายมีสิทธิขอหย่าได้ แต่ผู้หญิงต้องมีผู้แทน ทำให้ผู้หญิงต้องตกอยู่ในสภาวะยากลำบากหากหย่ากันไม่ได้ แม้ว่ากฏหมายอิสลามจะอนุญาตให้หย่าได้ (อังคณา, 2554)
ส่วนการตัดสินใจในการมีบุตร พบว่าทั้งคนไทยมุสลิมและคนไทยพุทธ ส่วนใหญ่มีสิทธิในการตัดสินใจได้อย่างเสรีในการที่จะมีบุตรหรือไม่ และมีกี่คน ซึ่งสอดคล้องกับสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ข้อที่ 8 แต่การตัดสินใจที่จะมีบุตรเมื่อไร ยังพบว่าสตรีมุสลิมยังมีปัญหาเรื่องช่วงเวลาในการตั้งครรภ์ที่ยังไม่ตรงกับความต้องการ แม้ว่าจะมีความต้องการบุตรสำหรับครรภ์นี้แต่ไม่ใช่ช่วงเวลานี้ หรือไม่ได้มีความต้องการบุตร ซึ่งแตกต่างจากคนไทยพุทธอย่างมีนัยสำคัญ แสดงว่ายังมีช่องว่างของความต้องการการวางแผนครอบครัว หรือยังไม่สามารถเข้าถึงบริการวางแผนครอบครัวที่มีอยู่ได้อย่างสะดวก (Unmet need) อาจเนื่องด้วยหลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่ไม่ส่งเสริมให้คุมกำเนิด หรือถ้าจะคุมกำเนิดก็ต้องเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดที่ไม่ขัดกับหลักธรรมชาติและไม่เป็นการทำลายชีวิต (ห้ามการทำแท้ง) ทำให้สตรีมุสลิมไม่สามารถไปขอรับบริการวางแผนครอบครัวได้โดยปราศจากความยินยอมจากสามี นอกจากนี้ อาจเนื่องมาจากการขาดความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย และรอบด้าน เกี่ยวกับวิธีการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม หรือบริการวางแผนครอบครัวที่มีให้อาจยังไม่ทั่วถึงและ/คุณภาพบริการที่ให้ยังไม่สะดวกใจของผู้รับบริการ จะสังเกตได้จากสัดส่วนการไปขอรับบริการจากคณะกรรมการอิสลามมีสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับสถานบริการของรัฐประเภทต่างๆ
สำหรับความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ แม้ว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสองศาสนาทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่รู้จักเอชไอวี/เอดส์ แต่คนไทยพุทธมีสัดส่วนการมีความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ สูงกว่าคนไทยมุสลิม อย่างมีนัยสำคัญในระดับมาก ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ชาวไทยมุสลิมยังมีปัญหาเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี/ โรคเอดส์ นอกเหนือจากความรู้ด้านการวางแผนครอบครัว
ความรุนแรงทางเพศ สตรีทั้งสองศาสนายังประสบปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศจากการบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะสตรีมุสลิมเคยถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์มากกว่าสตรีไทยพุทธอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากคู่สมรสปัจจุบัน นอกจากนี้ สตรีไทยมุสลิมยังถูกทำร้ายร่างกายโดยคู่สมรสปัจจุบัน “ผู้หญิงมุสลิมมีความอดทน ยอมที่จะถูกทำร้าย ซึ่งคงคล้ายกับผู้หญิงทั่วๆไป อีกอย่างที่เจอแต่ไม่มากเป็นเรื่องของความรุนแรงทางเพศ แต่ผู้หญิงอาจจะไม่ค่อยเล่า” (ดำรง, 2549) ซึ่งการถูกล่วงละเมิดทางเพศและความรุนแรงในครอบครัวสะท้อนให้เห็นว่า สตรีมุสลิมยังมีปัญหาสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ในด้านการได้รับความปลอดภัยจากการทารุณกรรมและการปฏิบัติมิชอบจากความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบ ตามสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกเชื้อชาติ ศาสนา และทุกเพศวัยที่อยู่ในสังคมไทยต้องได้รับการคุ้มครอง
                ดังนั้น การนำกระแสของสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ที่แม้ว่าประชาคมระหว่างประเทศจะให้การรับรอง มาวิเคราะห์กับสังคมมุสลิมปัตตานีภาคใต้ อาจเป็นเรื่องที่เร็วเกินไปในการก้าวไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ เนื่องจากสังคมมุสลิมเป็นสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่มาเป็นเวลานาน และการมีบุตรถือเป็นความประสงค์ของพระเจ้าหรือพระศาสดาของศาสนาอิสลาม การใช้วิธีคุมกำเนิดสมัยใหม่ถูกห้ามมานาน แม้ในระยะหลังจะมีการผ่อนปรนมากขึ้น โดยสตรีมุสลิมจะใช้วิธีคุมกำเนิดสมัยใหม่ได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากฝ่ายชายหรือความเห็นชอบจากคณะกรรมการอิสลาม การตอบสนองต่อความทันสมัยและสิทธิสตรีในทัศนะตะวันตกอาจถูกต่อต้าน แต่ก็อาจทำให้คนมุสลิมภาคใต้ โดยเฉพาะสตรีมีแนวโน้มและสุ่มเสี่ยงต่อการถูกกีดกันแปลกแยกจากสังคมใหญ่ของประเทศและถูกเบียดขับให้อยู่วงนอก (ของสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์) จนกลายป็นคนชายขอบ (marginalized) ของกระแสหลัก แม้ว่าสังคมมุสลิมจะมีความเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ แต่อาจจะเป็นไปอย่างฃช้า ๆ
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาของนักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า “คนกลุ่มน้อยและคนที่อยู่ตรงชายขอบของสังคมและวัฒนธรรมหลัก (marginal peoples) มักเกิดจากการที่รัฐไม่ได้ให้ความสนใจแก่กระบวนการที่กระทำให้กลุ่มคนเหล่านั้นต้องตกไปอยู่ชายขอบ จะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม” กระบวนการเป็นคนชายขอบนั้นอาจจะเกิดขึ้นได้ใน 2 ทิศทาง ทิศทางแรก ความเป็นชายขอบเกิดขึ้นจากการถูกกีดกัน และถูกลดอำนาจ หรือถูกติดป้าย เช่นผู้หญิง แต่ในอีกทิศทางหนึ่ง ความเป็นชายขอบเกิดขึ้นจากการถูกดึงเข้าร่วมกระบวนการจนกลายเป็นชายขอบ ดังนั้น ชาวไทยมุสลิมมีแนวโน้มที่จะไม่เป็นคนที่อยู่ชายขอบของกระแสหลักแห่งสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ถ้ารัฐสามารถปรับปรุงบริการให้คนไทยมุสลิมเข้าถึงบริการและจัดบริการให้ผู้รับบริการได้รับความสะดวกสบายใจ โดยเฉพาะการให้ความรู้ที่ถูกต้อง และทันสมัยเกี่ยวกับวิธีการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม (ถิรนัย อาป้อง, 2554)
แนวทางที่สำคัญก็คือ ให้สตรีมุสลิมในสังคมไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาสิทธิสตรี เพื่อเสริมสร้างศักยภาพสตรีให้เท่าเทียมกับชาย เพราะความไม่เสมอภาคทางเพศก่อให้เกิดปัญหาอนามัยเจริญพันธุ์และเป็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของผู้หญิง ซึ่งสังคมได้วางบทบาทให้รักนวลสงวนตัว ทำให้ไม่มีความรู้เรื่องเพศ ไม่กล้าพูด ไม่กล้าถาม มีอำนาจต่อรองเพื่อสุขภาพทางเพศของตนเองน้อยกว่าผู้ชาย จึงจำเป็นต้องมีการผลักดันการดำเนินงานในเชิงนโยบายและในเชิงระบบ โดยการประสานการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกส่วน ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมมิติที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบุคลากร พัฒนาระบบบริการและองค์ความรู้ มาตรการในการดูแลทางสังคม การดูแลทางกฎหมาย รวมทั้งการรณรงค์ค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับหลักการที่แท้จริงของศาสนาอิสลาม และผสมผสานการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและการส่งเสริมความเท่าเทียมหญิงชายที่สอดคล้องกับความละเอียดอ่อนเชิงวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีความยั่งยืน พร้อม ๆ กันนั้นก็ทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆในระดับชุมชนและบุคคลจำนวนมาก ที่จะเป็นกำลังสำคัญของความเปลี่ยนแปลง (กองทุนประชากรแห่งสหประชาติ, 2551)
 
 
เอกสารอ้างอิง
กองทุนประชากรแห่งสหประชาติ. (2551). UNFPA ชี้ปัญหาวัฒนธรรม เพศภาวะ และสิทธิมนุษยชน ในมุมมองระดับโลกและนานาชาติ จากสุนทรพจน์ โดย นางโธรายา อาเหม็ด โอเบค ผู้อำนวยการกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) เนื่องในงานแนะนำ 'รายงานสถานการณ์ ประชากรโลก ประจำปี 2551' ภายใต้หัวข้อ 'บรรลุข้อตกลงพื้นฐาน: วัฒนธรรม เพศภาวะ และสิทธิมนุษยชน' ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ  ค้นเมื่อ 17 เมษายน 2555 จาก http://www.medicthai.com/news/news_detail.php?id=2958
กองอนามัยการเจริญพันธุ์. (2554).
กุศล สุนทรธาดา. (2524). ภาวะเจริญพันธุ์ของไทยมุสลิมภาคใต้. จุลสารสังคมศาสตร์. 3 (พฤษภาคม-ตุลาคม 2524):45-48
จรัล มะลุลีม. (2554). อิสลามกับเรื่องเพศ. ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2555 จาก http://www.piwdee.net/kab6/sanha04.htm
ฉวีวรรณ วรรณประเสริฐ และคณะ. (2526). ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมชาวไทยมุสลิมกับภาวะเจริญพันธุ์และการวางแผนครอบครัว. เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องภาวะเจริญพันธุ์ การวางแผนครอบครัว และการพัฒนาประชากรภาคใต้ 16-18 มีนาคม 2526 ณ โรงแรมโนรา อำเภอหาดใหญ่
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (บ.ก.). (2546). อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ดำรง อาแวลี. (2549). วันนี้ของผู้หญิงมลายูมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้: ชีวิตที่หลงเหลือกับรอยยิ้มหลังหยาดเลือด. เอกสารเผยแพร่การเสวนาเรื่อง “ชีวิตผู้หญิงมลายูมุสลิม : มายาคติ และ ความเป็นจริง”. 8 กุมภาพันธ์ 2549 ณ วิทยาลัยอิสลาม มอ.ปัตตานี จัดโดย เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพ และคณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2555 จาก www.southwatch.org/article_detail.php?id=15 -
ณัฐยา บุญภักดี. (2547). สรุปสถานการณ์ด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของประเทศไทย. เอกสารนำเสนอในการประชุมคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ วันที่ 29 มกราคม 2547 ณ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ภัสสร ลิมานนท์. (2547). ผู้หญิง…กับทางเลือกในการเจริญพันธุ์ และเพศสัมพันธ์?. บทความประกอบการประชุมทางวิชาการ ชีวจริยศาสตร์เบื้องต้น: ทางเลือกของสังคมไทย จัดโดย สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการ ASEAN-EU LEMLIFE ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2555 จาก www.stc.arts.chula.ac.th/Women_and _Reproductive _Choices.ppt
ถิรนัย อาป้อง. (2554). อยู่ชายขอบ: ตัวตนและการต่อสู้ของคนชายขอบในสังคมไทย ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2555 จาก
          http://chornorpor.blogspot.com/2011/09/1.html
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. 2555. ข้อมูลประชากรไทย 2555. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2555 จากเว็บไซต์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr-th/population_thai.html
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2546).  รายงานการสำรวจอนามัยเจริญพันธุ์ภาคใต้. กรุงเทพ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2552). รายงานการสำรวจอนามัยเจริญพันธุ์ พ.ศ.2552 ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2555 จาก
            http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/.../fertilityRep52.pdf
สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดปัตตานี. (2554). ประวัติจังหวัดปัตตานี. (หน้า 18) ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2555 จาก http://www.pattani.go.th/data/banyay/bunyay54.pdf
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. (2553). สถิติสาธารณสุขประจำปี 2553. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2555 จาก http://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/index2.html
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2553). สถานการณ์อนามัยเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2555 จาก http://rh.anamai.moph.go.th/home.html
สุริชัย หวันแก้ว. (2550). คนชายขอบ : จากความคิดสู่ความจริง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณา วรคามินและคณะ. (2545). หลักการของกฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์ แปลและเรียบเรียงจาก Reproductive Health
Law and Policy กองวางแผนครอบครัวและประชากร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (หน้า 1-2) ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2555 จาก http://www.womenhealth.or.th/downloads/document-resource/document-1.pdf
อังคณา นีละไพจิตร. (2549). วันนี้ของผู้หญิงมลายูมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้: ชีวิตที่หลงเหลือกับรอยยิ้มหลังหยาดเลือด. เอกสารเผยแพร่การเสวนาเรื่อง “ชีวิตผู้หญิงมลายูมุสลิม : มายาคติ และ ความเป็นจริง”. 8 กุมภาพันธ์ 2549 ณ วิทยาลัยอิสลาม มอ.ปัตตานี จัดโดย เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพ และคณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2555 จาก www.southwatch.org/article_detail.php?id=15 -
อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต และเพ็ญพักตร์ ทองแท้. (2555). สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของประชากรไทยพุทธและไทยมุสลิม. รายงานการวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี
UNFPA (2004). Rights into Action: UNFPA implementations Human Rights-Based Approach; Reproductive health
              and rights (p.16). ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2555 จาก 
              http://www.unfpa.org/upload/lib_pub_file/529_filename_rights_into_action.pdf
International Conference on Population and Development (ICPD). (2004). Breaking Through: A Guide to Sexual
and Reproductive Health and Rights. Edited by Ylva Bergman. Stockholm: Norra Skane Offset, Hassleholm  (February).
 
 
 
 
[1]  อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
[2] รองศาสตราจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
[3] นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Gretchen
Hi, i feel that i saw you visited my blog thus i came to return the want?.I am trying to to find issues to enhance my site!I assume its good enough to use a few of your concepts!!
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://wendynishi.weebly.com/blog/archives/03-2015
Gretchen [114.37.239.xxx] เมื่อ 29/07/2017 17:06
2
อ้างอิง

laura lorde
General Note slope game , เอกสารเผยแพร่ในการประชุมวิชาการ 'ประชากรและสังคม' ครั้งที่ 8 ... อนามัยเจริญพันธุ์ของชาวไทยมุสลิมปัตตานี : ความแตกต่างที่อาจกลายเป็นชายขอบ?
 
laura lorde [42.118.50.xxx] เมื่อ 14/12/2022 15:24
3
อ้างอิง

Anna Eva
An internet mapping service called Mapquest directions also provides directions and more details about a certain site. Although it isn't as well-known as other mapping systems like Google Maps, it is nonetheless considered as a trustworthy and friendly tool. Generally speaking, it is a great substitute for asking for directions.
 
Anna Eva [42.112.110.xxx] เมื่อ 16/01/2023 14:23
4
อ้างอิง

jason bevis
การแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนาเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของชาวมุสลิมในปัตตานี ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและ coreball สิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพที่สำคัญ เช่นการเลือกทำหมันหรือไม่ การเข้ารับการคุมกำเนิด แล
 
jason bevis [118.68.122.xxx] เมื่อ 24/03/2023 15:14
5
อ้างอิง

jeffreestar
สภาพแวดล้อมทางสังคมและวิถีชีวิตของชุมชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ เช่น อาชีพส่งเสริมสุขภาพ pou เช่นปศุสัตว์  
 
jeffreestar [42.112.110.xxx] เมื่อ 13/04/2023 11:32
6
อ้างอิง

Mirandawe
The medicalization of birth has had an impact on these customs, in tandem with literalist readings of Islam. This influence hampered the observance of the placental burial ceremony, letter boxed which represents the metaphysical and physical anchoring of ethnic and religious identities in the earth.
 
Mirandawe [113.23.42.xxx] เมื่อ 19/04/2023 09:29
7
อ้างอิง

Emma Orabelle
Believe me, you are amazing because you use only a few words to inspire others and that is an incredible talent.  exhibit of sorrows 
 
Emma Orabelle [42.116.146.xxx] เมื่อ 21/04/2023 11:43
8
อ้างอิง

Billie
The study is very detailed, gives specific evidence and accurately street fighter duel analyzes the current population situation.
 
Billie [42.116.147.xxx] เมื่อ 24/04/2023 15:10
9
อ้างอิง

annadine
การวิจัยพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสองกลุ่ม รวมถึงอายุที่มีเพศสั retro bowl unblocked มพันธ์ครั้งแรก การคุมกำเนิด และการเลือกคู่ครอง
 
annadine [1.55.219.xxx] เมื่อ 25/04/2023 14:43
10
อ้างอิง

Pizza Tower
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษ Pizza Tower าพฤติกรรมและสิทธิด้านสุขภาพทางเพศของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานีเปรียบเทียบกับชาวไทยพุทธ
 
Pizza Tower [42.112.110.xxx] เมื่อ 3/05/2023 09:29
12
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :